20210725mapping4

 

          เดือนกรกฎาคม 2564 ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ได้จัดงานสมัชชาคุณธรรมและตลาดนัดคุณธรรม (แบบไฮบริด) ใน 4 จังหวัด ประกอบไปด้วย จังหวัดเชียงราย (6-8 กรกฎาคม 2564) จังหวัดอุดรธานี (13-15 กรกฎาคม 2564) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (20-21 กรกฎาคม 2564) และจังหวัดสุราษฎร์ธานี          (23-24 กรกฎาคม 2564) โดยการจัดงานทั้ง 4 จังหวัด ทีมนักวิชาการของศูนย์คุณธรรมได้มีการสรุปประเด็นที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การขับเคลื่อนคุณธรรมในพื้นที่ และข้อเสนอการขับเคลื่อนงานต่อในอนาคต ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

 

          เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เหลียวหลังแลหน้า การขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรม ทั้ง 4 จังหวัด วิเคราะห์กระบวนการส่งเสริมคุณธรรมว่า ให้ความสำคัญกับหลักการ “ระเบิดจากข้างใน” คือ เกิดจากความต้องการของคนในพื้นที่ และเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม โดยกระบวนการที่นำมาใช้ขับเคลื่อนในระดับปฏิบัติการประกอบไปด้วย 1. การวิเคราะห์และนำต้นทุนเดิมในพื้นที่มาใช้ในการขับเคลื่อน เช่น ต้นทุนด้านวัฒนธรรม ต้นทุนด้านศาสนาความเชื่อ 2. การสร้างเครือข่ายบนพื้นฐานงานความรู้ 3. การพัฒนาวิทยากรและผู้นำการเปลี่ยนแปลง 4. การยกย่องเชิดชูบุคคล/องค์กร/ชุมชนที่ทำความดี สำหรับการขับเคลื่อนในระดับนโยบายให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนปฏิบัติการในการขับเคลื่อนร่วมกันในระดับจังหวัด

 

          เวทีแลกเปลี่ยนของทั้ง 4 จังหวัด ยังได้เสนอภาพการขับเคลื่อนงานในอนาคตว่า ในระดับปฏิบัติการควรมีการดำเนินการดังนี้ 1. เปิดพื้นที่ให้คนหลากหลายวัย 2. สร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. พัฒนากลไกการขับเคลื่อนของเครือข่าย ด้วยการสร้างกิจกรรมร่วมกันทั้งภายในเครือข่ายและข้ามเครือข่าย 4. มีกลไกการติดตามและการจัดการความรู้ เช่น การถอดบทเรียน 5. จัดให้มีกระบวนการยกย่องเชิดชู 6. มีการพัฒนาเครื่องมือ องค์ความรู้ และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานมากขึ้น และในระดับนโยบาย ควรมีการบรรจุแผนการขับเคลื่อนงานด้านคุณธรรมไว้ในยุทธศาสตร์จังหวัด โดยกำหนดเป้าหมายและระยะเวลาในแต่ช่วงให้ชัดเจน รวมทั้งควรมีการทบทวนแผนเพื่อปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์สังคม

 

          สำหรับภาพรวมข้อเสนอของเครือข่ายสมัชชาคุณธรรมใน 4 จังหวัด สามารถจัดกลุ่มเครือข่ายได้ 9 เครือข่าย โดยแต่ละเครือข่ายมีข้อเสนอดังนี้

          1. เครือข่ายเด็กและเยาวชน เสนอให้มีการบูรณาการการขับเคลื่อนของเครือข่ายเด็กและเยาวชนร่วมกับเครือข่ายอื่นๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงาน

          2. เครือข่ายสถานศึกษา เสนอให้ยกระดับกิจกรรมของแต่ละสถานศึกษามานำเสนอในรูปแบบของเครือข่าย มีพื้นที่ “แชร์ โชว์ เชื่อม” และเน้นการพัฒนาเยาวชนให้เป็น “พลเมืองที่มีคุณธรรม” โดยประเด็นที่ให้ความสำคัญ คือจิตอาสา

          3. เครือข่ายภาคประชาสังคม เนื่องจากเป็นเครือข่ายที่มีความหลากหลาย ข้อเสนอที่ให้ความสำคัญ จึงมองถึงการสร้างเครือข่ายภาคประชาสังคมว่าควรดำเนินการให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยประเด็นที่ภาคประชาสังคมให้ความสำคัญ คือ การต่อต้านการทุจริต จิตอาสา เศรษฐกิจพอเพียง การอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และกลุ่มเป้าหมายในการส่งเสริมคุณธรรมที่ให้ความสำคัญ คือ กลุ่มผู้นำชุมชน และกลุ่มเด็กและเยาวชน

          4. เครือข่ายชุมชน เสนอให้มีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โมเดลต้นแบบ เพื่อนำไปใช้ในการขยายผลต่อไป

          5. เครือข่ายเกษตรกรรม เสนอให้มีการพัฒนาฐานข้อมูล เพื่อนำข้อมูลมาวางแผนในการดำเนินงาน และเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงาน

          6. เครือข่ายภาครัฐ เสนอบทบาทของภาครัฐในการบูรณาการ การเชื่อมโยงเครือข่าย กระบวนการยกย่องเชิดชูบุคคลและองค์กรในมิติคุณธรรม

          7. เครือข่ายภาคธุรกิจ เสนอถึงการเพิ่มจำนวนองค์กรธุรกิจคุณธรรม การขยายเครือข่ายธุรกิจคุณธรรม การพัฒนาบุคลากรในเรื่องธุรกิจคุณธรรม และกระบวนการยกย่องเชิดชูบุคคลและองค์กรในมิติคุณธรรม

          8. เครือข่ายสื่อมวลชน เสนอทิศทางการทำงานด้านสื่อสารมวลชนที่อยู่บนพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรม

          9. เครือข่ายศาสนา เสนอถึงการขับเคลื่อนที่เชื่อมร้อยแต่ละศาสนาเข้าด้วยกัน โดยมีบทบาททั้งในด้านการเผยแผ่หลักธรรมคำสอน และการช่วยเหลือสังคม

 

          สิ่งที่น่าสังเกตจากข้อเสนอของเครือข่าย คือ การเสนอ “ข้ามข่าย” ไปที่ภาครัฐ จากภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม โดยภาคธุรกิจเสนอว่า ภาครัฐควรพัฒนาผู้นำในระดับต่างๆให้เข้าใจเรื่องการขับเคลื่อนงานด้านคุณธรรม เพื่อให้เกิดการบูรณาการการขับเคลื่อนกับภาคธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น ขณะที่ภาคประชาสังคมเสนอว่า ภาครัฐควรมีบทบาทสนับสนุนภาคประชาสังคมให้ดำเนินงานด้านขับเคลื่อนคุณธรรม โดยการสนับสนุนควรมีการติดตามประเมินผลควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

 

          ข้อเสนอจากเวทีเสวนาและจากเครือข่ายทางสังคมของ 4 จังหวัดที่เกิดขึ้นจากงานสมัชชาคุณธรรมจังหวัดและตลาดนัดคุณธรรม แสดงให้เห็นถึงบทบาทของเครือข่ายและงานความรู้ที่เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนคุณธรรมเชิงพื้นที่ โดยสิ่งที่เชื่อมโยงความเป็นเครือข่ายนั้น คือ ความรู้ ซึ่งเป็นความรู้ที่มาจากการทดลองปฏิบัติจริง และความรู้ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งภายในเครือข่ายด้วยกัน และข้ามเครือข่าย ซึ่งงานสมัชชาคุณธรรมจังหวัดได้ไปหนุนเสริมกระบวนการนี้ให้ชัดเจนขึ้น รวมทั้งช่วยเสริมพลังการขับเคลื่อนคุณธรรมเชิงพื้นที่ให้เกิดความต่อเนื่อง


ธัญลักษณ์ ศรีสง่า

กลุ่มงานวิจัยนวัตกรรมและระบบพฤติกรรมไทย

สำนักพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม และสื่อสารสนเทศ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)

 

ค้นหาหนังสือ

แนะนำหนังสือ

การส่งเสริมคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา

แนวทางการส่งเสริมองค์กรคุณธรรม

Think hack That's Great! แฮกไอเดีย แก้ปัญหาตรงใจ

สรุปเวทีรายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566 หัวข้อ “Morality in Brittle Society คุณธรรมในโลกทีเปราะบาง”

รายงานฉบับสมบูรณ์ การดำเนินงานจัดทำรายงานสถานการณ์คุณธรรมสังคมไทย ปี 2566

Infographic รายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566

องค์ความรู้ มององค์กรผ่าน BOMC เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรคุณธรรม

สตาร์ทอัพ กับการออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม

องค์ความรู้ รูปแบบพฤติกรรมและกิจกรรมการทําเพื่อสังคมในบริบทของสังคมไทย

องค์ความรู้ Dialogue และ Empathy Dialogue = กระบวนการชวนคุยเพื่อทําความเข้าใจองค์กร

สื่อสารอย่างเข้าใจ ทำอะไรก็สำเร็จ : องค์ความรู้ การสื่อสารด้วยความเข้าใจ ระหว่างคนต่างรุ่นในองค์กร

ผลสำรวจสถานการณ์คุณธรรมปี 2565-2566 ด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิตของคนไทย 3 ช่วงวัย

คุณธรรมกับโลกยุคโกลาหล : รายงานสถานการณ์คุณธรรมปี 2565 = Moral with the age of chaos

รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรม

รายงานการวิจัยเรื่อง การสำรวจสถานการณ์ทุนชีวิตคนไทย (Life Assets) ปี 2565

สรุปงานแถลงข่าวสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย ปี 2565 และเสวนาวิชาการ “อยู่อย่างไรให้รอด ในโลกที่เปราะบางและท้าทาย”

แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)

สรุปสาระสำคัญแผนปฏิบัติการฯคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570)

แท้จริงแล้วการพึ่งพากันทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น

คุณธรรมที่คุณสัมผัสได้ = Moral Development with Honey Bee Model