S  3203083

 

          ช่วงเดือนตุลาคม 2564 หลายจังหวัดต้องเผชิญกับสถานการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ เนื่องจากพายุเตี้ยนหมู่ที่เคลื่อนเข้าประเทศไทย เมื่อ 24 กันยายน 2564 ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง จนเกิดน้ำท่วมและน้ำป่าไหลหลาก ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและแม่น้ำหลายแห่งในหลายภูมิภาคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบถึง 31 จังหวัด

          สถานการณ์น้ำท่วมซ้ำเติมสถานการณ์โควิด-19 ของประเทศไทยที่ยังไม่คลี่คลาย ร้านค้าหลายร้านต้องปิดกิจการชั่วคราว หลายบ้านยกของขึ้นที่สูงไม่ทัน ทำให้ข้าวของเสียหาย ตลอดจนไร่นาของเกษตรกรที่อยู่ในช่วงเตรียมเก็บเกี่ยวประสบความเสียหาย ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนโดยตรง

          แต่ในขณะเดียวกันจากภาพของความเดือนร้อนดังกล่าว เราได้เห็นอีกแง่มุมจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น คือ “พลังของจิตอาสา” ที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งการบริจาคสิ่งของเครื่องใช้ และลงพื้นที่ช่วยเหลือโดยตรง และเป็นจิตอาสาที่มาจากหลากหลายภาคส่วน เช่น ภาคประชาชน กลุ่มจิตอาสา ผู้มีชื่อเสียง องค์กรภาคเอกชน และองค์กรภาครัฐ

  • ภาคประชาชน เช่น
    • ประชาชนทั่วไป ส่งสิ่งของไปบริจาคยังศูนย์รับบริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยประจำจังหวัด
    • การรวมกลุ่มของประชาชนทำอาหารกล่อง เพื่อแจกจ่ายไปยังประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
  • กลุ่มจิตอาสา เช่น
    • ชมรมฮักเขาใหญ่และหอการค้าไทยจังหวัดนครราชสีมา ช่วยอพยพชาวบ้าน ขนย้ายสิ่งของ และมอบถุงยังชีพ ที่จังหวัดนครราชสีมา
    • ทีมร่มบินสุโขทัยขึ้นบินเพื่อส่งอาหารให้ชาวบ้านที่บ้านถูกน้ำท่วมสูงจนติดเกาะ ที่จังหวัดสุโขทัย
    • ฮุก 31 นำถุงยังชีพไปให้ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน และช่วยอพยพข้าวของที่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชัยภูมิ
    • เพจ care (จิตอาสา แคร์) พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับผู้ป่วย หรือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุน้ำท่วม โดยสามารถปักหมุดเพื่อขอความช่วยเหลือได้ โดยมีทีมอาสากว่า 10,000 คนคอยติดตามสถานการณ์ตลอดเวลา
    • มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดทำโรงครัวเคลื่อนที่ประกอบอาหารปรุงสุกพร้อมทานแจกจ่ายให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย ที่จังหวัดนครรราชสีมา
  • ผู้มีชื่อเสียง เช่น
    • ก้อง ห้วยไร่ ลงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน โดยขับเรือนำอาหารไปส่งบ้านที่น้ำท่วม จังหวัดชัยภูมิ
    • ตุ๊ก วิยะดาและเกล ดีล่า จัดคอนเสิร์ตออนไลน์เพื่อรับเงินบริจาคช่วยน้ำท่วม รายได้ทั้งหมดไม่หักค่าใช้จ่ายนำไปช่วยเหลือโรงพยาบาลบําเหน็จณรงค์ ที่จังหวัดชัยภูมิ มีศิลปิน/นักแสดงรับเชิญมาช่วยงานมากกว่า 30 คน
    • กบ ปภัสรา เตชะไพบูลย์ นำทีมดาราจิตอาสา ลงเรือแจกถุงยังชีพให้กับชาวบ้านหมู่บ้านบางหลวงเอียง ทุ่งป่าโมกข์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    • พระมหาสมปอง นำถุงยังชีพไปให้ชาวบ้านจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสุพรรณบุรี
    • พระมหาไพวัลย์ นำถุงยังชีพไปให้ชาวบ้านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    • หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต วัดเขาตาเงาะอุดมพร นำถุงยังชีพ ข้าวสารอาหารแห้ง เครื่องปรุงรส และน้ำดื่มแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดชัยภูมิ
  • องค์กรภาคเอกชน เช่น
    • ช่อง 3 ส่งมอบถุงยังชีพจากเงินบริจาคของประชาชนผ่านรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ไปช่วยเหลือชาวบ้าน ที่จังหวัดสิงห์บุรี
    • สิงห์อาสานำถุงยังชีพไปช่วยเหลือชาวบ้าน ที่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชัยภูมิ
    • ทรู คอร์เปอร์เรชั่น ช่วยเหลือผู้เดือดร้อนจากเหตุน้ำท่วม ตำบลบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยนำทีมวิศวกร ช่าง และจิตอาสาของทรู ลงพื้นที่ขับเจ็ทสกีและเรือเร็ว เข้าดูแลซ่อมแซมโมเด็มเราเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่บ้าน เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และมอบถุงยังชีพ
    • บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ลงพื้นที่ตำบลไผ่หลิ่ว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ส่งมอบถุงยังชีพ ในโครงการ "CPF ส่งอาหารจากใจ สู้ภัยน้ำท่วม" เพื่อบรรเทาทุกข์แก่ชาวชุมชนผู้ประสบอุทกภัย
  • องค์กรภาครัฐ เช่น
    • กองพลทหารราบที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี สนับสนุนกำลังเจ้าหน้าที่ในสังกัดช่วยขนย้ายสิ่งของผู้ประสบภัยน้ำท่วม
    • สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งศูนย์ Fix it Center จิตอาสา ให้บริการด้านการขนย้ายสิ่งของ การตัดกระแสไฟฟ้าในพื้นที่ที่น้ำยังไม่ท่วมถึง และการจัดเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น อาหารกล่อง น้ำดื่มเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชน และศูนย์ Fix it Center จิตอาสาจะดำเนินการให้บริการ ซ่อมเครื่องใช้อุปกรณ์สิ่งของภายในบ้าน ซ่อมรถจักรยานยนต์ รถยนต์ เครื่องจักรกล เครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ทางการเกษตร ฯลฯ
    • สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแต่ละจังหวัด เปิดให้บริการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยให้บริการตรวจเช็คและซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหาย
    • ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อนำถุงยังชีพไปบริจาคประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน
    • สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดทำถุงยังชีพและนำไปบริจาคชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    • ตำรวจทางหลวงจังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนกำลังช่วยอพยพขนย้ายสิ่งของ และมอบถุงยังชีพประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน
    • กองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี ให้ความอนุเคราะห์รถหกล้อยกสูง ในการนำรถเข้าพื้นที่ที่น้ำท่วมสูง ที่จังหวัดชัยภูมิ

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นแค่ส่วนหนึ่งของพลังจิตอาสาเท่านั้น ยังมีกลุ่มและองค์กรอีกหลากหลายภาคส่วนที่ร่วมกันช่วยเหลือในเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ ซึ่งสะท้อนถึงทุนความดีเรื่องจิตอาสาที่อยู่ในจิตใจของคนในสังคมไทยและสะท้อนออกมาเป็นพฤติกรรมเมื่อสังคมเผชิญกับโจทย์ที่ท้าทาย

 


เรียบเรียงโดย: ภูริชยา ภูวญาณ กลุ่มงานวิจัยนวัตกรรมและระบบพฤติกรรมไทย

ที่มา : ระบบรายงานสถานการณ์คุณธรรม (E-monitoring) ศูนย์คุณธรรม

https://thestandard.co/flood-2021/

https://www.prachachat.net/education/news-769979

https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9640000099651

https://www.komchadluek.net/news/488961

https://www.bangkokbiznews.com/pr-news/biz2u/966617

https://siamrath.co.th/n/289771

https://www.jitasa.care

https://www.ejan.co

https://ch3plus.com/news/program

https://www.facebook.com/chaiyaphumMEEDEE

https://www.facebook.com/chaiyaphumtown

https://www.moralcenter.or.th

https://www.facebook.com/MorningNewsTV3

https://ch3plus.com/news/program

 

 

ค้นหาหนังสือ

แนะนำหนังสือ

การส่งเสริมคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา

แนวทางการส่งเสริมองค์กรคุณธรรม

Think hack That's Great! แฮกไอเดีย แก้ปัญหาตรงใจ

สรุปเวทีรายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566 หัวข้อ “Morality in Brittle Society คุณธรรมในโลกทีเปราะบาง”

รายงานฉบับสมบูรณ์ การดำเนินงานจัดทำรายงานสถานการณ์คุณธรรมสังคมไทย ปี 2566

Infographic รายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566

องค์ความรู้ มององค์กรผ่าน BOMC เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรคุณธรรม

สตาร์ทอัพ กับการออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม

องค์ความรู้ รูปแบบพฤติกรรมและกิจกรรมการทําเพื่อสังคมในบริบทของสังคมไทย

องค์ความรู้ Dialogue และ Empathy Dialogue = กระบวนการชวนคุยเพื่อทําความเข้าใจองค์กร

สื่อสารอย่างเข้าใจ ทำอะไรก็สำเร็จ : องค์ความรู้ การสื่อสารด้วยความเข้าใจ ระหว่างคนต่างรุ่นในองค์กร

ผลสำรวจสถานการณ์คุณธรรมปี 2565-2566 ด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิตของคนไทย 3 ช่วงวัย

คุณธรรมกับโลกยุคโกลาหล : รายงานสถานการณ์คุณธรรมปี 2565 = Moral with the age of chaos

รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรม

รายงานการวิจัยเรื่อง การสำรวจสถานการณ์ทุนชีวิตคนไทย (Life Assets) ปี 2565

สรุปงานแถลงข่าวสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย ปี 2565 และเสวนาวิชาการ “อยู่อย่างไรให้รอด ในโลกที่เปราะบางและท้าทาย”

แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)

สรุปสาระสำคัญแผนปฏิบัติการฯคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570)

แท้จริงแล้วการพึ่งพากันทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น

คุณธรรมที่คุณสัมผัสได้ = Moral Development with Honey Bee Model