ภาพเหตุการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วม เมื่อปลายปี 2554 ยังคงเป็นภาพติดตาใครหลายๆ คน พื้นที่หลายจังหวัด ไม่เว้นแม้แต่กรุงเทพฯ กลับมีสภาพที่ไม่ต่างไปจากเมืองบาดาล ภาพผู้คนที่ได้รับความเดือนร้อน ความสูญเสีย ความโศกเศร้าเสียใจ ที่เกิดขึ้น ยังคงวนเวียนอยู่ในความทรงจำ พร้อมกับคำถามที่ว่า “หากในอนาคต เกิดภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งใหญ่อีก เราจะทำอย่างไรกัน “การรับมือป้องกัน” จึงกลายเป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องร่วมกันตระหนัก เรียนรู้ และหาวิธีการรับมือกับภัยธรรมชาติที่มนุษย์เป็นผู้กระทำ โดยไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร

 

เล่นเกมกระดาน ตอบโจทย์สถานการณ์น้ำท่วม

วิธีการเอาตัวรอด จากสถานการณ์น้ำท่วม เป็นคีย์สำคัญของการเล่มเกม “วารีพินาศ” หรือเกมกระดาน (Board game) ที่ออกแบบและพัฒนาโดย “โครงการฉลาดทำบุญ เครือข่ายพุทธิกา” โดยเป็นการจำลองสถานการณ์ภัยพิบัติ ที่ผู้เล่นแต่ละคนจะได้รับภารกิจที่แตกต่างกันออกไป ในระหว่างการเล่นเกม ผู้เล่นจะได้ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจ ภายใต้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นตรงหน้า แรงบันดาลใจจากการทำเกมนี้ เกิดจากทีมอยากที่จะพัฒนาเครื่องมือให้คนได้เรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน โดยไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2554 ทำให้ได้เห็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมมากมาย ทั้งในเชิงพฤติกรรม ที่สะท้อนความคิดของแต่ละคน คนที่เคยผ่านประสบการณ์เมื่อได้เล่นเกมแล้ว ก็จะรู้สึกมีความอารมณ์ร่วมไปกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วนคนที่ไม่เคยผ่านเลยอย่างน้อยก็จะได้รับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร

 

 

ผู้เล่นได้เรียนรู้อะไร ?

 

นอกจากการทอยลูกเต๋าเสี่ยงโชคว่าผู้เล่นจะไปตกในช่องใดแล้ว บอร์ดเกมทั่วไปจะมีระดับความยากง่ายแตกต่างกันออกไป บางประเภทก็มีการวางแผน เพื่อฝึกสมองประลองทักษะ แต่สำหรับ “วารีพินาศ” มีความพิเศษตรงที่จะมีกระบวนการนั่งล้อมวงชวนคิด ชวนคุยหลังจากเล่นเกม เพื่อทบทวนเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่างการเล่นเกม ทำให้ผู้เล่นได้เกิดการกระตุ้นความคิด และเรียนรู้ในประเด็นสำคัญบางอย่าง ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง และสะท้อนมุมมองความคิด และจิตใจของแต่ละคน


“ถ้าพูดเรื่องเกม สิ่งที่ต้องมีคือความสนุก แต่อาจไม่ใช่เล่นแค่สนุกอย่างเดียว แต่จะได้กลับไปคิดอะไรบางอย่าง ในบางประเด็นที่เชื่อมโยงในชีวิตของเขา ไม่ว่าจะเป็นภาพเล็กหรือภาพใหญ่ จุดประสงค์ของเกมนี้คือ ให้แต่ละคนเอาตัวรอดให้ได้จากการถูกน้ำท่วม สถานการณ์น้ำท่วม ทำให้เราได้เห็นปรากฎการณ์หลายอย่าง ซึ่งมาจากความคิดข้างในของแต่ละคน”


มาสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกัน

 

สำหรับผู้สนใจ ที่อยากทดสอบตัวเองว่า จะเอาตัวรอดจากการถูกน้ำท่วมได้หรือไม่ สามารถเข้าร่วมสัมผัสประสบการณ์การเล่นเกม “วารีพินาศ” ได้ที่งาน โครงการประชุมวิชาการ คุณธรรมในพื้นที่ทางสังคม “ความงอกงามผ่านประสบการณ์ตรง” วันที่ 26 กรกฎาคม 60 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ http://www.moralcenter.or.th/index.php/home/news/moralspace

 

หมดเขตวันที่ 30 มิถุนายน 2560


 

ค้นหาหนังสือ

แนะนำหนังสือ

Think hack That's Great! แฮกไอเดีย แก้ปัญหาตรงใจ

สรุปเวทีรายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566 หัวข้อ “Morality in Brittle Society คุณธรรมในโลกทีเปราะบาง”

รายงานฉบับสมบูรณ์ การดำเนินงานจัดทำรายงานสถานการณ์คุณธรรมสังคมไทย ปี 2566

Infographic รายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566

องค์ความรู้ มององค์กรผ่าน BOMC เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรคุณธรรม

สตาร์ทอัพ กับการออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม

องค์ความรู้ รูปแบบพฤติกรรมและกิจกรรมการทําเพื่อสังคมในบริบทของสังคมไทย

องค์ความรู้ Dialogue และ Empathy Dialogue = กระบวนการชวนคุยเพื่อทําความเข้าใจองค์กร

สื่อสารอย่างเข้าใจ ทำอะไรก็สำเร็จ : องค์ความรู้ การสื่อสารด้วยความเข้าใจ ระหว่างคนต่างรุ่นในองค์กร

ผลสำรวจสถานการณ์คุณธรรมปี 2565-2566 ด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิตของคนไทย 3 ช่วงวัย

คุณธรรมกับโลกยุคโกลาหล : รายงานสถานการณ์คุณธรรมปี 2565 = Moral with the age of chaos

รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรม

รายงานการวิจัยเรื่อง การสำรวจสถานการณ์ทุนชีวิตคนไทย (Life Assets) ปี 2565

สรุปงานแถลงข่าวสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย ปี 2565 และเสวนาวิชาการ “อยู่อย่างไรให้รอด ในโลกที่เปราะบางและท้าทาย”

แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)

สรุปสาระสำคัญแผนปฏิบัติการฯคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570)

แท้จริงแล้วการพึ่งพากันทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น

คุณธรรมที่คุณสัมผัสได้ = Moral Development with Honey Bee Model

องค์ความรู้ คู่มือการจัดการแฮกกาธอน : แฮกไอเดีย สร้างนวัตกรรมทางสังคม (Moral Hackathon)

เวทีนำเสนอสถานการณ์คุณธรรม