ภป คุณธรรมองค์กร

 

      การพัฒนาตัวชี้วัดคุณธรรมเป็นประเด็นงานที่ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ดำเนินการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 เนื่องจากงานส่งเสริมคุณธรรมเป็นงานที่เน้นการสร้างแรงบันดาลใจให้คนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จึงมีความจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้

 

      และด้วยจุดยืนในการทำงานที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วม กระบวนการพัฒนาตัวชี้วัดคุณธรรมที่ผ่านมาภายใต้โครงการ “ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ในการส่งเสริมสังคมคุณธรรมหัวข้อ พัฒนาดัชนีชี้วัดพอเพียง วินัย สุจริต จิตสาธารณะ และรับผิดชอบ สนับสนุนโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงออกแบบให้มีวิทยากรกระบวนการหรือกระบวนกรมาช่วยในการดำเนินงาน ผลที่เกิดขึ้นคือแนวปฏิบัติ (Guideline) ในการพัฒนาตัวชี้วัดคุณธรรมที่พัฒนาร่วมกันจากผู้แทนภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษา ที่องค์กรหรือชุมชนสามารถนำไปปรับใช้ได้ตามบริบทของตนเอง

 

     “กระบวนกร” จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการสร้างความรู้ของโครงการนี้ โดยหนังสือคู่มือวิถีกระบวนกร จัดทำโดยโครงการพัฒนาภาวะการนำด้วยพุทธกระบวนทัศน์ มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป ได้ให้ความหมาย “กระบวนกร” ว่าหมายถึงผู้สร้างและดำเนินกิจกรรมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ต่างจากวิทยากรที่เป็นผู้ให้ความรู้

     “วินัย” ประกอบไปด้วย 4 หมวดหมู่ คือ 1.การรักษาเวลา 2.การปฏิบัติตามกฎระเบียบ/กติกาของสังคม 3.การปฏิบัติตามหน้าที่ 4.การควบคุมฝึกฝนตนเองอย่างสม่ำเสมอ

     “สุจริต” ประกอบไปด้วย 11 หมวดหมู่ คือ 1.ความซื่อสัตย์ 2.การใช้ทรัพยากรส่วนรวม 3.ความจริงใจ 4.การไม่ลักขโมย 5.การไม่เอารัดเอาเปรียบ 6.การไม่คดโกง/ไม่ทุจริต 7.การรักษาเวลาในทำงาน 8.การไม่อดทนต่อการทุจริต 9.การเปิดเผยข้อมูล 10.การประกอบอาชีพ/การทำงาน 11.การปฏิบัติตามกฎระเบียบ

     “จิตสาธารณะ” ประกอบไปด้วย 6 หมวดหมู่ คือ 1.การรักษาสาธารณประโยชน์และสิ่งแวดล้อม 2.การบริจาค 3.กิจกรรมจิตอาสา/สาธารณประโยชน์ 4.การเสียสละ 5.ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 6.การช่วยเหลือ

และ “รับผิดชอบ” ประกอบไปด้วย 5 หมวดหมู่ คือ 1.รับผิดชอบต่องาน 2.กล้ารับผิดรับชอบ 3.รับผิดชอบต่อตนเอง 4.รับผิดชอบต่อสังคม 5.ดูแลรับผิดชอบบุคคลใต้อาณัติและสัตว์เลี้ยง

 

     ทางทีมวิจัยได้นำข้อมูลเบื้องต้นนี้แลกเปลี่ยนกับกระบวนกรเพื่อนำไปเตรียมออกแบบกระบวนการ โดยกลุ่มเป้าหมายที่จะมาร่วมกันพัฒนาตัวชี้วัดคุณธรรมแบ่งตามช่วงวัยเป็น 4 ช่วงวัย (Generation) ได้แก่ Baby Boomer (ผู้ที่เกิดระหว่าง พ.ศ.2489-2507 หรือ อายุระหว่าง 55-73 ปี) Gen X (ผู้ที่เกิดระหว่าง พ.ศ.2508-2522 หรืออายุระหว่าง 40-54 ปี) Gen Y (ผู้ที่เกิดระหว่าง พ.ศ.2522-2540 หรืออายุระหว่าง 22-53 ปี และ Gen Z (ผู้ที่เกิดตั้งแต่ พ.ศ.2541 ลงมา โดยเน้นกลุ่มอายุ 13-21 ปี)

 

     ที่มาจาก 6 ภาคส่วน คือ 1.ภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ 2.ธุรกิจ/เอกชน 3.ศาสนา 4.ชุมชน/ประชาสังคม/ครอบครัว 5.สื่อมวลชน 6.การศึกษา ในพื้นที่นำร่องการขับเคลื่อนงานของศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ใน 4 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุดรธานี ภาคกลาง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งจะเริ่มจัดกระบวนการตามพื้นที่ต่างๆ เดือนกุมภาพันธ์ 2563

     เส้นทางการพัฒนาตัวชี้วัดคุณธรรมหลังจากนี้จึงเป็นการทำงานควบคู่กันไประหว่างงานในเชิงวิชาการและงานเชิงกระบวนการ ซึ่งงานทั้งสองส่วนนี้จะต้องมีการออกแบบ และทำงานร่วมกัน ด้วยการสร้าง “พื้นที่สนทนา” กับผู้คนที่มีความหลากหลายในพื้นที่ต่างๆ เพื่อทำให้กระบวนการพัฒนาตัวชี้วัดคุณธรรมเป็นกระบวนการสร้างการเรียนรู้ สร้างความรู้ และสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สำคัญของการขับเคลื่อนงานด้านคุณธรรมต่อไป

ธัญลักษณ์ ศรีสง่า
www.thaissf.org, twitter.com/jitwiwat
สนับสนุนโดย มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์

ค้นหาหนังสือ

แนะนำหนังสือ

Think hack That's Great! แฮกไอเดีย แก้ปัญหาตรงใจ

สรุปเวทีรายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566 หัวข้อ “Morality in Brittle Society คุณธรรมในโลกทีเปราะบาง”

รายงานฉบับสมบูรณ์ การดำเนินงานจัดทำรายงานสถานการณ์คุณธรรมสังคมไทย ปี 2566

Infographic รายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566

องค์ความรู้ มององค์กรผ่าน BOMC เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรคุณธรรม

สตาร์ทอัพ กับการออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม

องค์ความรู้ รูปแบบพฤติกรรมและกิจกรรมการทําเพื่อสังคมในบริบทของสังคมไทย

องค์ความรู้ Dialogue และ Empathy Dialogue = กระบวนการชวนคุยเพื่อทําความเข้าใจองค์กร

สื่อสารอย่างเข้าใจ ทำอะไรก็สำเร็จ : องค์ความรู้ การสื่อสารด้วยความเข้าใจ ระหว่างคนต่างรุ่นในองค์กร

ผลสำรวจสถานการณ์คุณธรรมปี 2565-2566 ด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิตของคนไทย 3 ช่วงวัย

คุณธรรมกับโลกยุคโกลาหล : รายงานสถานการณ์คุณธรรมปี 2565 = Moral with the age of chaos

รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรม

รายงานการวิจัยเรื่อง การสำรวจสถานการณ์ทุนชีวิตคนไทย (Life Assets) ปี 2565

สรุปงานแถลงข่าวสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย ปี 2565 และเสวนาวิชาการ “อยู่อย่างไรให้รอด ในโลกที่เปราะบางและท้าทาย”

แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)

สรุปสาระสำคัญแผนปฏิบัติการฯคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570)

แท้จริงแล้วการพึ่งพากันทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น

คุณธรรมที่คุณสัมผัสได้ = Moral Development with Honey Bee Model

องค์ความรู้ คู่มือการจัดการแฮกกาธอน : แฮกไอเดีย สร้างนวัตกรรมทางสังคม (Moral Hackathon)

เวทีนำเสนอสถานการณ์คุณธรรม