013

 

     ท่ามกลางกระแสการปฏิรูปและการพัฒนาประเทศไทยไปสู่ความ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน รัฐบาลมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่มุ่งสร้างความพอดีระหว่างการพัฒนาการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความทันสมัย และเทคโนโลยี กับการสร้างสังคมเข้มแข็งในมิติด้านคุณธรรมความดี ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน จึงมุ่งมั่นสร้าง“คนดี สังคมดี” ตามแผนแม่บทสำหรับคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ ที่มีวิสัยทัศน์ “สังคมไทยมีคุณธรรมเป็นรากฐานในการดำรงชีวิต สืบสานความเป็นไทย อยู่ร่วมกันด้วยความสันติสุขในประเทศไทย ประชาคมอาเซียน  และประชาคมโลกอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมให้คนไทยมีคุณธรรมตามหลักศาสนา นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาคุณภาพชีวิต และดำรงชีวิตตามวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม โดยในระยะแรกจะมุ่งสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อขับเคลื่อน คุณธรรมสำคัญ ๔ ประการ คือ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา โดยแนวทางการประพฤติปฏิบัติของคุณธรรม ดังนี้

 

พอเพียง  หมายถึง  ความพอเพียงในการดำเนินชีวิต แบบทางสายกลาง มีเหตุผลใช้ความรู้ในการตัดสินใจอย่างรอบคอบ มีความพอประมาณ พอดี ไม่เบียดเบียนตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม ไม่ประมาท สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง

 

วินัย  หมายถึง  การยึดมั่นและรับผิดชอบในหน้าที่ของตน ทั้งวินัยต่อตนเองในการผลักดันชีวิตให้ก้าวหน้า วินัยต่อองค์กร สังคม ปฏิบัติตามจริยธรรม จรรยาบรรณ และเคารพต่อกฎหมาย

 

สุจริต  หมายถึง  ความซื่อตรง ความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่น ยืนหลักในการรักษาความจริง ความถูกต้อง ความเป็นธรรมทั้งปวง นอกจากตนเองจะเป็นคนซื่อตรงแล้ว ต้องกล้าปฏิเสธการกระทำที่ไม่ซื่อตรง ไม่ซื่อสัตย์ของบุคคลอื่นที่จะทำให้ส่วนรวมเกิดความเสียหาย

 

จิตอาสา  หมายถึง  การเป็นผู้ที่ใส่ใจต่อสังคมสาธารณะ และอาสาลงมือทำอย่างใดอย่างหนึ่งอันมิใช่หน้าที่ของตนเอง ด้วยความรัก ความสามัคคี เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ของสังคม ของประเทศชาติ โดยมิได้หวังผลตอบแทน ทำความดีเพื่อ ความดี เอื้ออาทรต่อคนร่วมสังคม ทำอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย

 

     ซึ่งการขับเคลื่อนคุณธรรมให้เกิดการพัฒนาสู่สังคมคุณธรรมดังกล่าวจะมุ่งเป็นการสร้างคนดี คือส่งเสริมคุณธรรมให้คนทุกช่วงวัย ทุกกลุ่ม ทุกพื้นที่ และการส่งเสริมองค์กรคุณธรรม ให้ทุกองค์ ทุกสถาบันส่งเสริมให้คนในองค์กรเป็นคนดี การบริหารองค์กรมีคุณธรรม และร่วมกันส่งเสริมประชาชนและสังคม ร่วมสร้างคุณธรรม ให้เต็มแผ่นดิน

ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานเฉพาะด้านตามนโยบายรัฐบาล ทำหน้าที่หลักในการบริหารจัดการและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนประสานงานและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายองค์กร ด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ให้มีพลังในการพัฒนาคุณภาพประชากรของชาติในด้านคุณธรรมจริยธรรม เพื่อรักษาดุลยภาพในการพัฒนาสังคมไทย สู่สังคมไทย  4.0

 


 

ผู้เขียน : สิน สื่อสวน  ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม
ภาพโดย : จักราชัย ทองเพ๊ชร์ 
งานสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงและภาพลักษณ์องค์กร

ค้นหาหนังสือ

แนะนำหนังสือ

Think hack That's Great! แฮกไอเดีย แก้ปัญหาตรงใจ

สรุปเวทีรายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566 หัวข้อ “Morality in Brittle Society คุณธรรมในโลกทีเปราะบาง”

รายงานฉบับสมบูรณ์ การดำเนินงานจัดทำรายงานสถานการณ์คุณธรรมสังคมไทย ปี 2566

Infographic รายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566

องค์ความรู้ มององค์กรผ่าน BOMC เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรคุณธรรม

สตาร์ทอัพ กับการออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม

องค์ความรู้ รูปแบบพฤติกรรมและกิจกรรมการทําเพื่อสังคมในบริบทของสังคมไทย

องค์ความรู้ Dialogue และ Empathy Dialogue = กระบวนการชวนคุยเพื่อทําความเข้าใจองค์กร

สื่อสารอย่างเข้าใจ ทำอะไรก็สำเร็จ : องค์ความรู้ การสื่อสารด้วยความเข้าใจ ระหว่างคนต่างรุ่นในองค์กร

ผลสำรวจสถานการณ์คุณธรรมปี 2565-2566 ด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิตของคนไทย 3 ช่วงวัย

คุณธรรมกับโลกยุคโกลาหล : รายงานสถานการณ์คุณธรรมปี 2565 = Moral with the age of chaos

รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรม

รายงานการวิจัยเรื่อง การสำรวจสถานการณ์ทุนชีวิตคนไทย (Life Assets) ปี 2565

สรุปงานแถลงข่าวสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย ปี 2565 และเสวนาวิชาการ “อยู่อย่างไรให้รอด ในโลกที่เปราะบางและท้าทาย”

แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)

สรุปสาระสำคัญแผนปฏิบัติการฯคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570)

แท้จริงแล้วการพึ่งพากันทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น

คุณธรรมที่คุณสัมผัสได้ = Moral Development with Honey Bee Model

องค์ความรู้ คู่มือการจัดการแฮกกาธอน : แฮกไอเดีย สร้างนวัตกรรมทางสังคม (Moral Hackathon)

เวทีนำเสนอสถานการณ์คุณธรรม