ในชีวิตประจำวัน บ่อยครั้งที่เรามักใจลอยคิดเรื่องต่างๆ โดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวในอดีตหรืออนาคต ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน เกิดความวิตกกังวล จนบางครั้งขาดสติ ไม่รู้เนื้อรู้ตัว เป็นเหตุให้เกิดปัญหาและการตัดสินใจที่ผิดพลาดตามมา เมื่อปัญหาและความเครียดถูกสะสม ทับถมลงในจิตใจ หลายคนมองหาทางออกให้ชีวิต หนึ่งในนั้นก็คือ การเข้าวัดปฏิบัติธรรม โดยหวังจะให้ความทุกข์ต่างๆ บรรเทาเบาบางลง แต่ไม่ได้กลับมาแก้ที่ต้นเหตุ นั่นก็คือใจของเรา รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัชวาลย์ ศิลปกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งนอกจากเป็นแพทย์แล้ว ยังเป็นวิทยากรสอนด้านการพัฒนาจิตใจในชีวิตประจำวัน ได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า

 

“การได้เคลื่อนไหว ได้เดิน ได้ใช้งาน ได้ออกกำลังกาย จะทำให้ร่างกายแข็งแรง และจิตใจของเรา จะทำอย่างไรให้เข้มแข็ง แค่เข้าวัด ฟังธรรมอย่างเดียวอาจไม่พอ”

 

 

การพัฒนาจิตใจให้เข้มแข็งนั้น จึงต้องอาศัยการฝึกฝน และพัฒนาให้มั่นคง สิ่งสำคัญคือ ต้องไม่ยุ่งยาก (Keep it simple) เช่น เวลาที่ ใจลอยไปคิดถึงเรื่องในอดีตหรือในอนาคต เวลาคิดจะไม่รู้ตัว ต้องนำกลับเข้ามาด้วยความรู้สึกตัว หรือที่เรียกกว่า “รู้กาย ทันใจ” ไม่เผลอ ไม่ตรงไปทำอะไรโดยไม่รู้ตัว เพราะธรรมชาติ ความคิดก็เหมือนกับลิงที่วิ่งไปมา เราต้องทำให้ลิงเชื่อง โดยใช้กระบวนการฝึกด้วยวิธีที่ไม่ยุ่งยาก


มากกว่า “ปฏิบัติธรรม” คือ การเข้าใจตนเอง

 

แม้ว่าการปฏิบัติธรรม หรือกรรมฐาน จะช่วยให้เราตั้งสติระลึกรู้ในสิ่งที่พึงกระทำ ทำให้จิตใจมั่นคง ได้บุญได้กุศล แต่ถ้าหากไม่เรียนรู้และเข้าใจจิตใจตัวเราแล้ว ก็ไม่สามารถเข้าใจความจริงของชีวิตได้

 

“การเข้าคอร์สปฏิบัติธรรม จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาจิตใจให้มีคุณธรรม อย่างที่ต้องการมากน้อยแค่ไหน คนจำนวนมากไปปฏิบัติธรรม แล้วเกิดความพอใจในบุญ กุศล แต่กลับไม่ศึกษาเรียนรู้เข้าไปในจิตใจของตนเอง และไม่เข้าใจว่า การปฏิบัติธรรมนั้น มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาจิตใจให้สามารถมีความปกติ มั่นคง มีปัญญาและเข้าใจความจริงของชีวิต”

 

“และการปฏิบัติก็ไม่ใช่การกระทำ แต่การปฏิบัติคือรู้ รู้สิ่งที่ปรากฎ ด้วยกายใจของเรา จึงเรียกว่าการปฏิบัติ แต่เรามักเข้าใจผิดคิดว่า การปฏิบัติคือต้องขยับ ต้องเพ่ง ต้องท่อง ต้องนั่ง และคนที่นั่งแน่ใจหรือว่าเขาปฏิบัติ อะไรที่เป็นเครื่องยืนยันว่าเขาปฏิบัติ”

 

รศ.นพ. ชัชวาลย์ ได้ยกตัวอย่างวิธีฝึกปฏิบัติให้รู้ทันจิต หากอยู่นิ่ง แล้วใจลอยไปคิดเรื่องใด ก็เพียงแต่รู้ทันว่ากำลังลอยไป และดึงใจกลับมา คือทักษะในการตื่นแล้วพาใจกลับบ้าน ต้องฝึกให้รู้ทันอาการใจลอย หรือรู้ทันความคิด โดยเราต้องทำสิ่งนั้นให้เกิดความงอกงามในชีวิต

 

“ดังนั้นเวลาที่มีอาการทุกข์ เศร้า เหงา ดีใจ เสียใจ โกรธ อารมณ์ต่างๆ เหล่านี้ไม่สำคัญเท่ากับความรู้สึกตัวที่ปรากฎขึ้น เพราะนั่นหมายถึงการรู้ว่าได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อปรากฎขึ้นก็แสดงว่า สิ่งที่รู้ได้เกิดขึ้นแล้ว ให้รู้ทันความคิด ไม่ใช่การฝึกสติเพื่อห้ามความคิด”


เรียนรู้ “สติ” จากประสบการณ์ตรง

 

การที่จะทำให้เข้าใจแก่นแท้ของจิตใจนั้น จึงต้องอาศัยการฝึกฝน โดย รศ.นพ. ชัชวาลย์ ได้พัฒนากิจกรรมเวิร์คช็อป “การเจริญสติ” (Mindfulness Practices) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เดินทางสำรวจจิตใจตนเอง ผ่านประสบการณ์ตรง (Experiential learning) โดยจะฉายภาพให้เห็นว่า สตินำมาโยงกับความดีได้อย่างไร และทำให้เห็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โดยเชื่อมกับศาสตร์สมัยใหม่ ในด้านการรู้จักตนเอง (Self-awareness)

 

“ในกระบวนการ จะพาให้คนที่เข้าร่วมได้รู้ถึงตัวอย่างที่คนพูดกันว่า ไม่ยากหรอก แค่มีสติ ทุกคนมีสติ ก็คงไม่วุ่นวายแบบนี้ สิ่งที่พูดง่าย แต่เรารู้จักสติดีพอหรือยัง มีแต่สั่งให้คนอื่นมีสติ แต่สติในประสบการณ์ตรง คืออะไร เพราะฉะนั้น แก่นของการเวิร์คชอป คือ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ เราต้องพาผู้เข้าร่วมให้เข้าไปประสบ ระหว่างการที่เขาคิดว่ามีสติกับการที่เขารู้ตัวจริง ว่ามันไม่เหมือนกัน”


มาสร้างประสบการณ์เรียนรู้ร่วมกัน

 

การฝึกสติจะช่วยให้เราสามารถเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างสงบ โดยตอบสนองการใคร่ครวญได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล เกิดความยับยั้งชั่งใจ ไม่ทำตามอารมณ์ชั่ววูบ สิ่งนี้จึงถือเป็น “การสร้างความรับผิดชอบต่อตนเองอย่างแท้จริง” สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมกระบวนการฝึกสติให้รู้เท่าทัน สามารถเข้าร่วมสัมผัสประสบการณ์ตรงได้ที่งาน โครงการประชุมวิชาการ คุณธรรมในพื้นที่ทางสังคม “ความงอกงามผ่านประสบการณ์ตรง” วันที่ 26 กรกฎาคม 60 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ http://www.moralcenter.or.th/index.php/home/news/moralspace หมดเขตวันที่ 15 กรกฎาคม 2560

 

ค้นหาหนังสือ

แนะนำหนังสือ

การส่งเสริมคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา

แนวทางการส่งเสริมองค์กรคุณธรรม

Think hack That's Great! แฮกไอเดีย แก้ปัญหาตรงใจ

สรุปเวทีรายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566 หัวข้อ “Morality in Brittle Society คุณธรรมในโลกทีเปราะบาง”

รายงานฉบับสมบูรณ์ การดำเนินงานจัดทำรายงานสถานการณ์คุณธรรมสังคมไทย ปี 2566

Infographic รายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566

องค์ความรู้ มององค์กรผ่าน BOMC เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรคุณธรรม

สตาร์ทอัพ กับการออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม

องค์ความรู้ รูปแบบพฤติกรรมและกิจกรรมการทําเพื่อสังคมในบริบทของสังคมไทย

องค์ความรู้ Dialogue และ Empathy Dialogue = กระบวนการชวนคุยเพื่อทําความเข้าใจองค์กร

สื่อสารอย่างเข้าใจ ทำอะไรก็สำเร็จ : องค์ความรู้ การสื่อสารด้วยความเข้าใจ ระหว่างคนต่างรุ่นในองค์กร

ผลสำรวจสถานการณ์คุณธรรมปี 2565-2566 ด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิตของคนไทย 3 ช่วงวัย

คุณธรรมกับโลกยุคโกลาหล : รายงานสถานการณ์คุณธรรมปี 2565 = Moral with the age of chaos

รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรม

รายงานการวิจัยเรื่อง การสำรวจสถานการณ์ทุนชีวิตคนไทย (Life Assets) ปี 2565

สรุปงานแถลงข่าวสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย ปี 2565 และเสวนาวิชาการ “อยู่อย่างไรให้รอด ในโลกที่เปราะบางและท้าทาย”

แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)

สรุปสาระสำคัญแผนปฏิบัติการฯคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570)

แท้จริงแล้วการพึ่งพากันทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น

คุณธรรมที่คุณสัมผัสได้ = Moral Development with Honey Bee Model