011

 

      เมื่อปี ๒๕๕๓ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา และศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม หรือศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ในปัจจุบัน ได้จัดทำโครงการ “องค์กรต้นแบบความซื่อตรง (Integrity) ภาครัฐ” ผลผลิตจากโครงการนั้น ทำให้เกิดองค์กรคุณธรรมความดี ๓ องค์กร คือ กรมคุมประพฤติที่มุ่งมั่นในการไม่รับสินบน-สินน้ำใจ กรมการเงินกลาโหมที่มุ่งมั่นในการพัฒนาคนให้มีความซื่อตรง และกรมเทคโนโลยีสารสนเทศทหารอากาศที่มุ่งมั่นให้มีความซื่อตรง โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

 

     จากผลสัมฤทธิ์ครั้งนั้น ได้ก่อให้เกิดความบันดาลใจให้กับท่านประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ปราโมทย์ โชติมงคล จึงชวนท่านองคมนตรี นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย ในฐานะศิษย์เก่าโรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม ร่วมกันพัฒนาโรงเรียนที่ท่านเคยศึกษาให้เป็นโรงเรียนคุณธรรมความดี เหมือนสมัยที่ท่านเป็นนักเรียน โดยเรียกชื่อว่าโครงการ“โรงเรียนคุณธรรม” และมอบให้ศูนย์คุณธรรมเป็นผู้ดำเนินการด้านวิชาการ เมื่อเริ่มต้นโครงการ ท่านผู้ใหญ่ใจดีทั้งสองได้ไปพบปะพูดคุยกับผู้บริหารและครูของโรงเรียนเน้น ให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณธรรมความดีในสถานศึกษา เพื่อเป็นรากฐานของการสร้างพลเมืองดี และท่านได้ไปพบกับนักเรียนหลาย ครั้งตลอดระยะเวลาของโครงการ เพื่อสร้างกำลังใจในการสร้างคุณธรรมความดี โดยเน้นให้เห็นถึงประโยชน์ของการสร้างความเชื่อถือศรัทธาและไว้วางใจ “โรงเรียนของเรา”

 

     เมื่อทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าจะ พัฒนาเป็นโรงเรียนคุณธรรม วิทยากรของศูนย์คุณธรรม ได้แก่ อาจารย์สมปอง ใจดีเฉย จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตรและคณะ ได้จัดกิจกรรมละลายพฤติกรรมระหว่างครูกับผู้บริหาร เพื่อสร้างพลังในการทำงานร่วมกันเป็นเวลา ๓ วัน หลังจากนั้น ได้จัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมความดีให้กับนักเรียนแกนนำที่สมัครใจเข้าร่วม โครงการ ด้วยการระดมความคิด ภายใต้กรอบ “ปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ”

 

     “ปัญหาที่อยากแก้” ได้ถูกนำไปเป็นโครงงานที่นักเรียนได้ริเริ่มพัฒนาความประพฤติของตน และ “ความดีที่อยากทำ” จะเป็นเข็มมุ่งในการทำความดีที่ทุกคนมุ่งมั่นพัฒนาจนเป็น “อัตลักษณ์ของโรงเรียน” เป็นเวลาเกือบ ๓ ปี ภายใต้การสนับสนุนทุกรูปแบบจากท่านผู้ใหญ่ใจดีทั้งสองท่าน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม สามารถนำมาเสนอเป็นต้นแบบ “โรงเรียนคุณธรรม” ในงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติและตลาดนัดคุณธรรม  ครั้งที่ ๖ ที่ศูนย์คุณธรรมจัดขึ้นเมื่อปี ๒๕๕๖

 

     จากผลสำเร็จของโรงเรียนคุณธรรมนี้ ท่านองคมนตรี เกษม วัฒนชัยได้นำไปเล่าให้แพทย์ที่ร่วมประชุม HA National Forum ๒๕๕๖ ฟัง และเสนอแนวคิดให้มีการพัฒนา “โรงพยาบาลคุณธรรม” บ้าง ทันตแพทย์ไพรัช กาวประเสริฐ ทันตแพทย์ชำนาญการโรงพยาบาลบางมูลนาก ซึ่งเป็นคนพิจิตรโดยกำเนิด ได้รับทราบความสำเร็จของโรงเรียนคุณธรรม และรับรู้ถึงกระแสพลังทางสังคมในการพัฒนาคุณธรรมความดีของคนอำเภอบางมูลนาก จึงได้เกิดแนวคิดร่วมกับทีมงานจัดทำโครงการ “โรงพยาบาลคุณธรรม” ขึ้น ภายใต้การสนับสนุนของ นายแพทย์ ดิเรก ขำแป้น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่านก่อน ซึ่งเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม

 

     เป็นความโชคดีของคนบางมูลนากที่ กระทรวงสาธารณสุข ส่งแพทย์คนพิจิตรนักพัฒนา นายแพทย์วิศิฎฐ์ อภิสิทธิ์วิทยา มารักษาราชการผู้อำนวยการโรงพยาบาล จึงได้สานต่อโครงการนี้จนเกิดผลสัมฤทธิ์ โรงพยาบาลบางมูลนากมีจุดแข็งที่คน ในองค์กรคุ้นเคยกับการพัฒนาจากโครงการโรงพยาบาลคุณภาพ (Hospital Accreditation-HA.) และอยู่ใกล้กับโรงเรียนคุณธรรมต้นแบบที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำ กิจกรรมได้ง่าย จึงไม่ยากในการทำความเข้าใจและมุ่งมั่นพัฒนา “จากคุณภาพไปสู่คุณธรรม” หมอวิศิฎฐ์ ได้อธิบายว่า การทำกิจกรรมคุณภาพมีการประเมินจากตัวชี้วัดซึ่งสร้างความกดดันให้กับ บุคลากรเกิดความเครียด การปลุกจิตสำนึกด้านคุณธรรมจึงเป็นการช่วยผ่อนคลาย และเน้นว่า โรงพยาบาลคุณธรรมไม่ใช่การนุ่งขาวห่มขาวนั่งสมาธิกันทั้งวัน

 

     แต่เป็นการปลุกเร้าคุณธรรมความดี ที่มีอยู่ในตัวทุกคนจากความเป็นมนุษย์ ออกมาเป็นอัตลักษณ์ขององค์กรที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน และใช้เป็นเข็มมุ่งในการทำความดีเป็นจุดเริ่มต้น เพื่อขยายผลไปสู่คุณธรรมอื่นๆ ในการดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข หมอไพรัชได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ในโครงการโรงพยาบาลคุณภาพ มีกิจกรรมการสร้างความสุขที่แท้จริงด้วย ๘ Happy ของ สสส. ได้แก่ ความสุขทางร่างกาย จิตใจ การมีความรู้ มีน้ำใจ จิตวิญญาณหรือความดี การพักผ่อน และมีฐานะทางการเงินที่ เป็นความสุขส่วนบุคคล และอีกสองมิติ คือ ความสุขในครอบครัวและสังคมที่มีความสุข ซึ่งสอดคล้องกับโรงพยาลคุณธรรมที่มุ่งเน้น “ธรรมะสร้างสุข” ให้กับคนในสังคม

 

     จากความพร้อมดังกล่าว โรงพยาบาลบางมูลนาก ได้เริ่มโครงการด้วยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรของโรง พยาบาลในประเด็น “ปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ” โดยมีอาจารย์ประกาศิต เลี่ยมสุวรรณ จากโรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม เป็นผู้ให้คำแนะนำการทำกิจกรรม “ค่านิยม” ที่เป็นความดีที่ทุกคนอยากทำ คือ “เมตตา เสียสละ รับผิดชอบ” ซึ่งเป็นคุณธรรมพื้นฐานของบุคลากรสายการแพทย์ และทุกคนในโรงพยาบาลพร้อมที่จะสร้างเป็น “อัตลักษณ์” ของโรงพยาบาล ส่วนปัญหาที่อยากแก้ได้ถูกแปลง เป็นโครงงาน ที่แต่ละส่วนงานมีความมุ่งมั่นร่วมกันแก้ไขปัญหาหรือความบกพร่องที่เคยเกิด ขึ้น และถอดบทเรียนว่าเกิดคุณธรรมอะไรขึ้นบ้าง

 

     เป็นเวลา ๑ ปีเศษที่โครงการพัฒนาโรงพยาบาลบางมูลนากจาก “คุณภาพสู่คุณธรรม” ได้ก่อให้เกิดการพัฒนาคุณธรรมความดีอย่างเป็นรูปธรรม และจะก้าวต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง หมอไพรัชได้สรุปปัจจัยที่ก่อให้ เกิดโรงเรียนคุณธรรมและนำมาขยายผลเป็นโรงพยาบาลคุณธรรม ซึ่งคุณหมอเรียกว่า “เมล็ดพันธุ์แห่งความดี” ๕ ประการ คือ

 

ประการแรก ต้องร่วมมือกันแสวงหาอัตลักษณ์ขององค์กรและยึดถือเป็นค่านิยมร่วมที่ยั่งยืน ด้วยการนำไปสู่การปฏิบัติจนเกิดเป็นลักษณะนิสัยของคน และขยายผลจนเป็น“วัฒนธรรมองค์กร”

 

ประการที่สอง ต้องสร้าง “แกนนำ” ที่มีความเข้าใจในการขับเคลื่อนโครงการและมีพลังในการขับเคลื่อนจนประสบผลสำเร็จ

 

ประการที่สาม ต้องสร้างโครงงานคุณธรรมที่มาจาก “ปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ” และดำเนินการจนเกิดผล และมีการถอดบทเรียนมาเป็นคุณธรรมที่ปรารถนา

 

ประการที่สี่ ต้องจัดตลาดนัดคุณธรรมเพื่อเผยแพร่กิจกรรมแบ่งปันความรู้และแลกเปลี่ยนเรียน รู้เพื่อพัฒนาแนวทางการสร้างคุณธรรมที่ปรารถนา ตามแนวคิด “ทำดีต้องมีแชร์” “ทำดีมีที่ยืน” และ “ทำดีก๊อปปี้ได้”

 

และประการที่ห้า มี “กัลยาณมิตร” ที่สนับสนุนและให้กำลังใจในการทำความดีอย่างต่อเนื่อง

 

     ความสำเร็จของการพัฒนาโรงพยาบาล บางมูลนากเป็น “โรงพยาบาลคุณธรรม” นี้ น่าจะเกิดจากปัจจัยประการที่ ๕ เนื่องจากโครงการนี้ได้รับพลังสนับสนุนจากผู้ใหญ่ใจดี ๒ ท่านที่เป็นชาวพิจิตรซึ่งมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณธรรมความดีให้สังคม คือ ท่านองคมนตรีเกษม วัฒนชัยและท่านปราโมทย์ โชติมงคล นอกจากนั้น การที่ท่านปลัดกระทรวงสาธารณสุขนายแพทย์ ณรงค์ สหเมธาพํฒน์ เคยเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลนี้มาก่อน ได้เป็นแบบอย่าง และเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาล จึงเกิดแรงผลักดันให้เกิดสิ่งดีงามนี้ เพื่อเป็น “แบบอย่าง” ให้กับโรงพยาบาลอื่นๆ ประกอบกับบุคลากรที่รับผิดชอบ คือ หมอวิศิฎฐ์ และหมอไพรัชเป็นชาวพิจิตรโดยกำเนิด จึงมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง ให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับมาตรฐานสากล

 

     อีกทั้ง การที่บุคลากรในโรงพยาบาลมีจิตสำนึกในการพัฒนาองค์กร และอยู่ในพื้นที่เดียวกับโรงเรียนคุณธรรมต้นแบบ ก็เป็นจุดแข็งในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายโรงพยาบาลคุณธรรมได้โดยง่าย

 

     มาถึงวันนี้ กระแสสังคมของคนในอำเภอบางมูลนากที่มีต่อองค์กรคุณธรรมแรงมากขึ้น จึงมีโครงการพัฒนา “อำเภอคุณธรรม” และอาจมี “อบต.คุณธรรม” กับ “เทศบาลคุณธรรม” เกิดขึ้นตามมา ขณะนี้ กระแส “ปฏิรูป” กำลังแรง จึงหวังว่าจะได้เห็น “ที่ดินคุณธรรม” “โรงพักคุณธรรม” “สรรพากรคุณธรรม” และ “ศุลกากรคุณธรรม” หรือองค์กรอื่นๆ “คุณธรรม” เกิดขึ้นในอนาคต

 


 

เขียนให้ “โพสต์ทูเดย์”

๒๔ พ.ย.๕๗

ค้นหาหนังสือ

แนะนำหนังสือ

Think hack That's Great! แฮกไอเดีย แก้ปัญหาตรงใจ

สรุปเวทีรายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566 หัวข้อ “Morality in Brittle Society คุณธรรมในโลกทีเปราะบาง”

รายงานฉบับสมบูรณ์ การดำเนินงานจัดทำรายงานสถานการณ์คุณธรรมสังคมไทย ปี 2566

Infographic รายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566

องค์ความรู้ มององค์กรผ่าน BOMC เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรคุณธรรม

สตาร์ทอัพ กับการออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม

องค์ความรู้ รูปแบบพฤติกรรมและกิจกรรมการทําเพื่อสังคมในบริบทของสังคมไทย

องค์ความรู้ Dialogue และ Empathy Dialogue = กระบวนการชวนคุยเพื่อทําความเข้าใจองค์กร

สื่อสารอย่างเข้าใจ ทำอะไรก็สำเร็จ : องค์ความรู้ การสื่อสารด้วยความเข้าใจ ระหว่างคนต่างรุ่นในองค์กร

ผลสำรวจสถานการณ์คุณธรรมปี 2565-2566 ด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิตของคนไทย 3 ช่วงวัย

คุณธรรมกับโลกยุคโกลาหล : รายงานสถานการณ์คุณธรรมปี 2565 = Moral with the age of chaos

รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรม

รายงานการวิจัยเรื่อง การสำรวจสถานการณ์ทุนชีวิตคนไทย (Life Assets) ปี 2565

สรุปงานแถลงข่าวสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย ปี 2565 และเสวนาวิชาการ “อยู่อย่างไรให้รอด ในโลกที่เปราะบางและท้าทาย”

แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)

สรุปสาระสำคัญแผนปฏิบัติการฯคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570)

แท้จริงแล้วการพึ่งพากันทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น

คุณธรรมที่คุณสัมผัสได้ = Moral Development with Honey Bee Model

องค์ความรู้ คู่มือการจัดการแฮกกาธอน : แฮกไอเดีย สร้างนวัตกรรมทางสังคม (Moral Hackathon)

เวทีนำเสนอสถานการณ์คุณธรรม