ภป ลดถุงไฟป่าโควิดสังคมไทย 1024x500

      แต่ละปีศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) จะมีการจัดทำรายงานสถานการณ์ด้านคุณธรรมในสังคมไทย ซึ่งเป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ประเด็นด้านคุณธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมไทยทั้งด้านบวกและด้านลบจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น งานวิจัย หนังสือ ข่าว โพล

     ในส่วนของข่าวที่เกิดขึ้นในปี 2563 ทีมงานได้เริ่มสืบค้นข้อมูลช่วง 4 เดือนแรกของปี (มกราคม-เมษายน 2563) มีข้อมูลที่สะท้อนถึงการรับมือความเปลี่ยนแปลงของคนในสังคมไทยที่น่าสนใจ จึงนำบางส่วนมานำเสนอในบทความนี้

     เริ่มจากการรณรงค์เรื่องดีๆ ต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการเริ่มแคมเปญเลิกใช้ถุงพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 โดยภาคธุรกิจ เอกชน ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกทั่วประเทศงดแจกถุงพลาสติก ซึ่งคนในสังคมส่วนใหญ่ให้การตอบรับกับการรณรงค์นี้เป็นอย่างดี มีการเตรียมถุงผ้าของตนเองมาใส่สินค้า และยังได้กลายเป็นกระแสสังคมในสื่อสังคมออนไลน์จากการการติดแฮชแท็ก #1มกราบอกลาถุง ที่กลายเป็นเทรนด์ยอดนิยม

     กุมภาพันธ์-เมษายน 2563 สถานการณ์ไฟป่าทวีความรุนแรงมากขึ้นและกระจายตัวในหลายพื้นที่ ซึ่งท่ามกลางวิกฤตนี้มีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ คืออาสาสมัครที่รวมตัวกันช่วยแก้ไขปัญหาไฟป่าในหลายรูปแบบ เช่น “กลุ่มสายใต้ออกรถ” กลุ่มอาสาสมัครจากคนในวงการร้านอาหารในจังหวัดเชียงใหม่ ที่รวมตัวกันระดมทุน ของใช้และอาหารสนับสนุนทีมดับไฟป่า การที่คนทั่วประเทศช่วยกันส่งสิ่งของบริจาค ทั้งยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นสนับสนุนการทำงานของสัตวแพทย์ที่ดูแลรักษาสัตว์ป่าที่ได้รับผลกระทบจากไฟป่าที่จังหวัดเชียงใหม่ โครงการอาสาดับไฟป่า มูลนิธิกระจกเงา ที่ทำงานเรื่องไฟป่าร่วมกับชาวบ้านและหลากหลายหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดเชียงรายมาอย่างต่อเนื่องหลายปี ในรูปแบบของการสนับสนุนทีมดับไฟของภาครัฐ นำอาสาสมัครไปร่วมดับไฟป่าและสนับสนุนอุปกรณ์ดับไฟให้กับชุมชน

     สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19 เริ่มมีผลกระทบกับสังคมไทยตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา โดยข่าวที่ปรากฏในช่วงต้นเดือน สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลต่อการระบาด ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการกักตุนหน้ากากอนามัยไปจนถึงการ “รีไซเคิล” หน้ากากอนามัยใช้แล้วเพื่อนำมาขายต่อ ความขาดแคลนหน้ากากอนามัยที่เกิดขึ้นทำให้ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมเป็นต้นมา มีการรวมตัวของอาสาสมัครหลายกลุ่มที่รวมตัวกันทำหน้ากากผ้าสำหรับแจกจ่าย ซึ่งมีตั้งแต่พระสงฆ์ ภาคประชาชน ภาครัฐ ไปจนถึงภาคธุรกิจ เช่น บริษัทตัดเย็บชุดนักเรียน บริษัทตัดเย็บชุดชั้นในที่ใช้ทักษะที่มีในระบบผลิตเดิมมาปรับเปลี่ยนเย็บหน้ากากผ้าแจกให้กับคนทั่วไป

     การระบาดของโควิด-19 ที่เพิ่มความเข้มข้นช่วงปลายเดือนมีนาคม นำไปสู่การที่รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน 25 มีนาคม 2563 ตามมาด้วยการประกาศยกเลิกวันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ รวมทั้งการรณรงค์อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ เพื่อลดความเสี่ยงของการระบาด

ซึ่งคนในสังคมไทยก็ดำเนินการตามมาตรการนี้กันอย่างจริงจัง

 

     เมื่อสังคมไทยเริ่ม “ตั้งหลัก” กับการระบาดได้ระยะหนึ่ง ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมเป็นต้นมา ก็มีการรวมกลุ่มที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อสนับสนุนและให้กำลังใจบุคลากรด้านการแพทย์ ซึ่งเป็นกำลังหลักในการรับมือกับการระบาดครั้งนี้ ทั้งการระดมทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ การแต่งเพลงเพื่อขับร้องสร้างกำลังใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์และคนในสังคมไทย

     เดือนเมษายน แม้ว่าตัวเลขของผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตในไทยจะเพิ่มขึ้นไม่สูงมากนัก แต่ก็มีผู้ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ ขอบเขตของการช่วยเหลือกันในสังคมไทยแผ่ขยายออกมายังกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบ เช่น แจกอาหาร แจกสิ่งของ อีกทั้งยังมีการพัฒนารูปแบบการช่วยเหลือที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการช่วยเหลือกันของผู้คนประเทศต่างๆ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เช่น “ตู้ปันสุข” ที่นำตู้มาตั้งไว้ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อแบ่งปันอาหาร ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากโครงการ Little Free Pantry ในต่างประเทศ ที่ปรับเปลี่ยนตู้หนังสือปันกันอ่านที่อยู่ในชุมชนให้กลายเป็นตู้เสบียงสำหรับคนที่เดือดร้อนจากโควิด-19

     จากปรากฏการณ์ข้างต้น จะเห็นถึงจุดร่วมที่เป็นจุดแข็งของคนในสังคมไทยในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเปลี่ยนแปลงด้านบวกหรือด้านลบ เช่น ในกรณีของการลดใช้ถุงพลาสติก สะท้อนให้เห็นว่าถ้าเป็นความเปลี่ยนแปลงในด้านบวกที่เกิดประโยชน์ร่วม คนในสังคมก็พร้อมให้ความร่วมมือ และเมื่อเผชิญความเปลี่ยนแปลงในด้านลบ เช่น ในกรณีของไฟป่า และ โควิด-19 คนในสังคมไทยก็สามารถปรับเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อวิกฤต มาเป็นพลังในเชิงสร้างสรรค์ คือการช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามเงื่อนไขที่ตนเองสามารถกระทำได้

     การช่วยเหลือกันของเพื่อนมนุษย์จึงเป็นคุณค่าร่วมที่สำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งคุณค่านี้จะสะท้อนออกมาเป็นรูปธรรมยามที่สังคมเผชิญกับสภาวะไม่ปกติ เช่น กรณีของไฟป่า หรือโควิด-19 ที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งความท้าทายที่เป็นโจทย์ร่วมที่ต้องคิดกันต่อไป คือมีวิธีการใดที่จะหล่อเลี้ยงคุณค่านี้ให้ดำรงอยู่จนกลายเป็น “ความปกติใหม่” ของสังคมไทยได้ต่อไป

ธัญลักษณ์ ศรีสง่า
www.thaissf.org, twitter.com/jitwiwat

Credit : https://www.matichon.co.th/article/news_2207373

ค้นหาหนังสือ

แนะนำหนังสือ

Think hack That's Great! แฮกไอเดีย แก้ปัญหาตรงใจ

สรุปเวทีรายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566 หัวข้อ “Morality in Brittle Society คุณธรรมในโลกทีเปราะบาง”

รายงานฉบับสมบูรณ์ การดำเนินงานจัดทำรายงานสถานการณ์คุณธรรมสังคมไทย ปี 2566

Infographic รายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566

องค์ความรู้ มององค์กรผ่าน BOMC เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรคุณธรรม

สตาร์ทอัพ กับการออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม

องค์ความรู้ รูปแบบพฤติกรรมและกิจกรรมการทําเพื่อสังคมในบริบทของสังคมไทย

องค์ความรู้ Dialogue และ Empathy Dialogue = กระบวนการชวนคุยเพื่อทําความเข้าใจองค์กร

สื่อสารอย่างเข้าใจ ทำอะไรก็สำเร็จ : องค์ความรู้ การสื่อสารด้วยความเข้าใจ ระหว่างคนต่างรุ่นในองค์กร

ผลสำรวจสถานการณ์คุณธรรมปี 2565-2566 ด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิตของคนไทย 3 ช่วงวัย

คุณธรรมกับโลกยุคโกลาหล : รายงานสถานการณ์คุณธรรมปี 2565 = Moral with the age of chaos

รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรม

รายงานการวิจัยเรื่อง การสำรวจสถานการณ์ทุนชีวิตคนไทย (Life Assets) ปี 2565

สรุปงานแถลงข่าวสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย ปี 2565 และเสวนาวิชาการ “อยู่อย่างไรให้รอด ในโลกที่เปราะบางและท้าทาย”

แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)

สรุปสาระสำคัญแผนปฏิบัติการฯคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570)

แท้จริงแล้วการพึ่งพากันทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น

คุณธรรมที่คุณสัมผัสได้ = Moral Development with Honey Bee Model

องค์ความรู้ คู่มือการจัดการแฮกกาธอน : แฮกไอเดีย สร้างนวัตกรรมทางสังคม (Moral Hackathon)

เวทีนำเสนอสถานการณ์คุณธรรม