ภป ลดถุงไฟป่าโควิดสังคมไทย 1024x500

     

        เมื่อโควิด-19 ยังไม่หายไปแล้วจะอยู่กันอย่างไร คำถามนี้คือภาพรวมของสถานการณ์ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2563 ที่ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ประมวลจากข่าวที่เกิดขึ้น เพื่อประกอบการจัดทำรายงานสถานการณ์ด้านคุณธรรมในสังคมไทย ประจำปี 2563

        บทความก่อนหน้านี้เมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 ได้นำเสนอประเด็นสำคัญ 4 เดือนแรกของปี (มกราคม-เมษายน 2563) ซึ่งพบว่าตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เริ่มส่งผลกระทบกับสังคมไทย และมีประเด็นเกี่ยวเนื่องตามมาอีกมากมาย

        ผลจากการร่วมแรงร่วมใจกันของคนสังคมอย่างต่อเนื่อง และมาตรการควบคุมที่เข้มงวดของภาครัฐ ทำให้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในไทยไม่รุนแรงมากนัก ทำให้ตั้งแต่ 4 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นมา แนวทางของภาครัฐเริ่มผ่อนปรนมากขึ้น เช่น การอนุญาตให้ร้านค้ากลับมาจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การเปิดร้านตัดผม การเปิดสวนสาธารณะ

        ขณะเดียวกันในเรื่องวิถีชีวิตก็มี “ความปกติใหม่” เกิดขึ้น เช่น กลุ่มเด็กนักเรียนที่ต้องปรับตัวกับการเรียนออนไลน์ ซึ่งมีความท้าทายทั้งในเชิงเทคโนโลยีที่ต้องเผชิญ เช่น เว็บไซต์ล่ม และบรรยากาศการเรียนการสอนที่ต่างไปจากการเรียนการสอนในห้องเรียนที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ เช่น การจดตามเนื้อหาไม่ทัน ซึ่งเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากสังคมมาก จนทำให้แฮชแท็ก #เรียนออนไลน์ ขึ้นอันดับ 1 ในสื่อสังคมออนไลน์ เมื่อ 18 พฤษภาคม 2563 ซึ่งเป็นวันแรกที่จัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้

        เมื่อมาถึงเดือนมิถุนายน 2563 ผลกระทบจากโควิด-19 ไม่ได้อยู่ที่การเจ็บป่วยของประชาชนโดยตรง แต่เริ่มส่งผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและการเดินทาง รวมทั้งธุรกิจส่งออก เช่น ธุรกิจปางช้างที่ต้องขอรับการบริจาคเงินเพื่อดูแลช้าง การเลิกกิจการของสายการบินราคาประหยัดที่เป็นการร่วมทุนระหว่างสายการบินของไทยและสิงคโปร์ การปิดโรงงานผลิตชุดชั้นในสตรีในจังหวัดปราจีนบุรี เนื่องจากไม่มีคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ส่งผลให้พนักงานประมาณ 400 คนถูกเลิกจ้าง และในประเด็นการรับมือกับโควิด-19 หลังจากสังคมไทยผ่านการระบาดมาครึ่งปี ก็มีผู้ที่หายป่วยจากโควิด-19 จำนวนรวม 300 คน ร่วมเป็นอาสาสมัครบริจาคพลาสมาให้กับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร เพื่อนำไปคิดค้นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ต่อไป

        เดือนกรกฎาคม 2563 เป็นช่วงที่มาตรการควบคุมผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง เช่น การเปิดเรียนของสถานศึกษาในระดับต่างๆ การเปิดสถานบันเทิง การเปิดให้ท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งครึ่งปีที่ผ่านมาภายใต้มาตรการควบคุม และการมีวินัยของคนในสังคมที่มีมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการระบาดของโควิด-19 ทำให้เมื่อเกิดข่าวหรือประเด็นที่สุ่มเสี่ยงนำไปสู่การระบาดรอบ 2 กระแสสังคมจึงกดดันหรือแสดงออกถึงความไม่พอใจอย่างชัดเจน เช่น การที่รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขไม่สวมหน้ากากอนามัยร่วมงานวันชาติของสหรัฐอเมริกา ที่ในเวลาต่อมาต้องออกมาขอโทษต่อสังคม หรือชาวต่างชาติที่เดินทางมาในไทยแล้วตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 ไม่ว่าจะในกรณีของทหารอียิปต์ที่แวะพักในจังหวัดระยองระหว่างปฏิบัติภารกิจ ครอบครัวนักการทูตที่พักในคอนโดที่กรุงเทพฯ ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก

        การระบาดของโควิด-19 ในไทยที่ไม่รุนแรง สะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยมีต้นทุนในเรื่องวินัย และจากการสำรวจที่ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ร่วมกับสำนักวิจัยซูเปอร์โพลสำรวจ ช่วงเดือนมิถุนายน 2563 ในประเด็นที่ว่าคุณธรรมด้านใดที่ทำให้ประชาชนคนไทยรอดพ้นโควิด-19 ก็เป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยผลจากผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 3,010 ตัวอย่าง พบว่าอันดับ 1 คือความมีวินัย 66.3% ตามมาด้วยอันดับ 2 ความรับผิดชอบ 49.3% อันดับ 3 ความพอเพียง 38.0% อันดับ 4 ความมีน้ำใจ 34.9% และอันดับ 5 ความสามัคคี 34.6%

        อย่างไรก็ตาม วินัยที่เป็นหัวใจในการรับมือกับโควิด-19 นั้น ไม่ใช่วินัยในเชิงบังคับหรือสั่งการ แต่เกิดจากคนในสังคมตระหนักถึงความสำคัญในประเด็นปัญหาและร่วมแรงร่วมใจกันรักษาวินัย ทั้งต่อตนเอง และต่อสังคม ซึ่งความมีวินัยของคนในสังคมอาจถูกสั่นคลอนหรือถูกตั้งคำถามได้ เมื่อมีการยกเว้นให้กับคนบางกลุ่มหรือบางกรณี

        ด้วยเหตุนี้การส่งเสริมวินัยในสังคมจึงต้องเป็นวินัยเชิงบวกที่ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญและเกิดการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยไม่ได้เกิดจากการใช้อำนาจบังคับหรือสั่งการ และที่สำคัญวินัยนั้นต้องมีความเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ กระบวนการส่งเสริมวินัยจึงจะเกิดผลและยั่งยืน

ธัญลักษณ์ ศรีสง่า
www.thaissf.org, twitter.com/jitwiwat

Credit : https://www.matichon.co.th/article/news_2289579

ค้นหาหนังสือ

แนะนำหนังสือ

การส่งเสริมคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา

แนวทางการส่งเสริมองค์กรคุณธรรม

Think hack That's Great! แฮกไอเดีย แก้ปัญหาตรงใจ

สรุปเวทีรายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566 หัวข้อ “Morality in Brittle Society คุณธรรมในโลกทีเปราะบาง”

รายงานฉบับสมบูรณ์ การดำเนินงานจัดทำรายงานสถานการณ์คุณธรรมสังคมไทย ปี 2566

Infographic รายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566

องค์ความรู้ มององค์กรผ่าน BOMC เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรคุณธรรม

สตาร์ทอัพ กับการออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม

องค์ความรู้ รูปแบบพฤติกรรมและกิจกรรมการทําเพื่อสังคมในบริบทของสังคมไทย

องค์ความรู้ Dialogue และ Empathy Dialogue = กระบวนการชวนคุยเพื่อทําความเข้าใจองค์กร

สื่อสารอย่างเข้าใจ ทำอะไรก็สำเร็จ : องค์ความรู้ การสื่อสารด้วยความเข้าใจ ระหว่างคนต่างรุ่นในองค์กร

ผลสำรวจสถานการณ์คุณธรรมปี 2565-2566 ด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิตของคนไทย 3 ช่วงวัย

คุณธรรมกับโลกยุคโกลาหล : รายงานสถานการณ์คุณธรรมปี 2565 = Moral with the age of chaos

รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรม

รายงานการวิจัยเรื่อง การสำรวจสถานการณ์ทุนชีวิตคนไทย (Life Assets) ปี 2565

สรุปงานแถลงข่าวสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย ปี 2565 และเสวนาวิชาการ “อยู่อย่างไรให้รอด ในโลกที่เปราะบางและท้าทาย”

แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)

สรุปสาระสำคัญแผนปฏิบัติการฯคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570)

แท้จริงแล้วการพึ่งพากันทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น

คุณธรรมที่คุณสัมผัสได้ = Moral Development with Honey Bee Model