ภป ลดถุงไฟป่าโควิดสังคมไทย 1024x500

 

        จากการที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกับภาคธุรกิจ ห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อกว่า 43 แห่ง เร่งหามาตรการและแนวทางในการขับเคลื่อนการงดแจกถุงพลาสติก ต่อยอดจากการรณรงค์กิจกรรมงดให้บริการถุงพลาสติกหูหิ้วในวันสิ่งแวดล้อมไทยและวันที่ 4 ของทุกเดือน ซึ่งใน 1 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่เริ่มกิจกรรมฯ (21 กรกฎาคม 2561 – 31 สิงหาคม 2562) สามารถลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วได้กว่า 2,000 ล้านใบ หรือประมาณ 5,755 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 400 ล้านบาทนั้น นำมาสู่มาตรการงดแจกถุงพลาสติกให้ลูกค้าแบบถาวร โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นมา ซึ่งมีร้านสะดวกซื้อ และห้างสรรพสินค้าหลายแห่งให้ความร่วมมือ แม้ในช่วงแรกจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อยู่บ้าง ถึงการความไม่สะดวกจากห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อที่ผลักภาระมาให้ผู้บริโภค แต่เมื่อมาตรการนี้ดำเนินการมาระยะหนึ่งก็เห็นได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพกถุงผ้าแทนการรับถุงพลาสติก จนกลายเป็นความเคยชิน

 

    อย่างไรก็ตาม ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โควิด-19 เริ่มเข้ามาระบาดในประเทศไทยและสถานการณ์ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งรัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ เพื่อควบคุมโรคระบาดตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา โดยมีข้อกำหนดต่าง ๆ ตามมาหลายอย่าง เช่น การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค การห้ามเดินทางข้ามจังหวัด และการประกาศเคอร์ฟิว

 

      จากสถานการณ์ที่คนอยู่บ้านมากขึ้น ทำให้มีการใช้บริการ "เดลิเวอรี" สั่งสินค้าและอาหารมากขึ้น ผ่านแพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ ทำให้เกิดผลกระทบทางด้านขยะขึ้นอีกครั้ง โดยในช่วงสองเดือนนี้ มีปริมาณขยะที่มากขึ้น โดยจากการรายงานของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่าช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รัฐบาลขอความร่วมมือให้ประชาชนอยู่บ้านและสั่งปิดสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงต่อการติดต่อของโรคนั้น ปริมาณขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งจากบริการรับส่งอาหาร (food delivery) เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนหน้านี้ถึง 15% คือจากวันละ 5,500 ตัน เป็น 6,300 ตันต่อวัน ประกอบด้วยถุงพลาสติก กล่องพลาสติก และพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง ไม่ว่าจะเป็นช้อน ส้อม ไม้จิ้ม เนื่องจากวิถีชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไป เช่น นั่งรับประทานอาหารที่ร้านไม่ได้ ใช้ชีวิตและทำงานอยู่กับบ้านมากขึ้น จึงมีการสั่งอาหารมารับประทานที่บ้านมากขึ้น ทำให้ขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

 

        สำหรับแนวทางลดขยะจากอาหารเดลิเวอรี ทำได้หลายวิธี โดย ดร.วิจารย์  สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่าทางร้านอาหารที่ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรีไม่ควรบริการช้อนส้อมพลาสติกให้ลูกค้า  จะเป็นการเพิ่มขยะพลาสติกโดยไม่จำเป็น เพราะที่บ้านก็มีช้อนตัวเองอยู่แล้ว ในระยะต่อไปต้องมองระบบจัดการขยะอาหารเดลิเวอรี เพราะธุรกิจนี้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ สร้างขยะต่อวันมากขึ้น ผลจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ต้องการความสะดวกสบายและอยู่กับโลกออนไลน์ หลังวิกฤตโควิด-19 ต้องมาหาแนวทางร่วมกัน นอกจากส่งอาหารแล้ว ต้องรับคืนบรรจุภัณฑ์ด้วย นี่คือ โอกาสลดขยะพลาสติก รวมถึงร้านควรปรับเปลี่ยนใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

         ปัจจุบันประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดได้ดี โดยหลังจากวันที่ 3 พฤษภาคม 2563 รัฐบาลได้มีการผ่อนปรนรอบแรกให้ธุรกิจบางประเภทรวมถึงร้านอาหารบางประเภทที่มีลักษณะตรงตามที่รัฐระบุ กลับมาเปิดให้บริการและนั่งกินที่ร้านได้ควบคู่ไปกับการซื้อกลับบ้าน ทำให้ผู้คนกลับไปยังร้านอาหารที่ตัวเองนึกถึง และดำเนินชีวิตตามปกติมากขึ้น หลังจากที่ต้องพึ่งพาอาศัยบริการเดลิเวอรีอยู่เป็นเดือน แต่ก็ยังมีประชาชนหลายคนเลือกใช้บริการเดลิเวอรีจำนวนมาก เพราะได้รับความสะดวกสบายกว่า และอาจจะกลายเป็นวิถีชีวิตแบบใหม่ของใครหลายคนไปแล้ว  

 

         ประเด็นที่น่าสนใจคือ เราในฐานะผู้ใช้บริการ ผู้บริโภค จะมีวิธีใดบ้างที่จะสามารถลดปริมาณขยะจากการใช้บริการอาหารเดลิเวอรีได้ ซึ่งการทำให้ผู้บริโภคอาหารเดลิเวอรีลดขยะพลาสติกน่าจะเป็นความท้าทายมากขึ้นในยุคโควิด-19 โดยในฝั่งของแพลตฟอร์มสั่งอาหารมีความพยายามในการลดปัญหานี้ เช่น การมีตัวเลือกในการสั่งอาหารที่ไม่รับช้อนส้อมพลาสติก ซึ่งในระยะยาวก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าความพยายามเหล่านี้จะสามารถลดขยะได้มากน้อยเพียงใด ท่ามกลางตลาดของอาหารเดลิเวอรี ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น

 

ภูริชยา ภูวญาณ

ข้อมูลจากระบบรายงานข่าวสถานการณ์คุณธรรม ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)

ค้นหาหนังสือ

แนะนำหนังสือ

การส่งเสริมคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา

แนวทางการส่งเสริมองค์กรคุณธรรม

Think hack That's Great! แฮกไอเดีย แก้ปัญหาตรงใจ

สรุปเวทีรายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566 หัวข้อ “Morality in Brittle Society คุณธรรมในโลกทีเปราะบาง”

รายงานฉบับสมบูรณ์ การดำเนินงานจัดทำรายงานสถานการณ์คุณธรรมสังคมไทย ปี 2566

Infographic รายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566

องค์ความรู้ มององค์กรผ่าน BOMC เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรคุณธรรม

สตาร์ทอัพ กับการออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม

องค์ความรู้ รูปแบบพฤติกรรมและกิจกรรมการทําเพื่อสังคมในบริบทของสังคมไทย

องค์ความรู้ Dialogue และ Empathy Dialogue = กระบวนการชวนคุยเพื่อทําความเข้าใจองค์กร

สื่อสารอย่างเข้าใจ ทำอะไรก็สำเร็จ : องค์ความรู้ การสื่อสารด้วยความเข้าใจ ระหว่างคนต่างรุ่นในองค์กร

ผลสำรวจสถานการณ์คุณธรรมปี 2565-2566 ด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิตของคนไทย 3 ช่วงวัย

คุณธรรมกับโลกยุคโกลาหล : รายงานสถานการณ์คุณธรรมปี 2565 = Moral with the age of chaos

รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรม

รายงานการวิจัยเรื่อง การสำรวจสถานการณ์ทุนชีวิตคนไทย (Life Assets) ปี 2565

สรุปงานแถลงข่าวสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย ปี 2565 และเสวนาวิชาการ “อยู่อย่างไรให้รอด ในโลกที่เปราะบางและท้าทาย”

แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)

สรุปสาระสำคัญแผนปฏิบัติการฯคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570)

แท้จริงแล้วการพึ่งพากันทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น

คุณธรรมที่คุณสัมผัสได้ = Moral Development with Honey Bee Model