ภป ลดถุงไฟป่าโควิดสังคมไทย 1024x500

 

      

ย้อนกลับไปที่ช่วงต้นปี 2563 ขณะที่ทั่วโลกกำลังเริ่มต้นเข้าสู่ปีใหม่ ที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน กำลังเผชิญกับ “โรคประหลาด” เป็นอาการ "ปอดอักเสบโดยไม่ทราบสาเหตุ" โดยการระบาดครั้งแรกเกิดขึ้นที่ตลาดค้าสัตว์ป่าเมืองอู่ฮั่นหรือตลาดขายอาหารทะเลสด South China Seaboard หลังจากนั้นเกิดการแพร่ระบาดกระจายไปในหลายพื้นที่ ถือเป็นครั้งแรกที่โลกได้รู้จักไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 และนับตั้งแต่จีนประกาศว่าพบผู้ติดเชื้อที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย เมื่อธันวาคม 2562 เป็นต้นมา ประเทศไทยจึงเริ่มคัดกรองผู้โดยสารเที่ยวบินตรงจากเมืองอู่ฮั่น และเปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินหรือศูนย์อีโอซี (EOC) เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม มีการตรวจพบผู้ป่วยหญิงจากเมืองอู่ฮั่น สัญชาติจีน ติดเชื้อโควิด-19 ในไทยคนแรก เมื่อ 12 มกราคม 2563 ต่อมา 31 มกราคม 2563 ชายไทยวัย 50 ปี ซึ่งขับแท็กซี่ในกรุงเทพฯ ได้รับผลตรวจว่าติดเชื้อ ถือว่าเป็นคนไทยรายแรกที่ติดเชื้อ หลังจากนั้น มีรายงานการตรวจพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง แต่เป็นจำนวนน้อย และอยู่ในวงจำกัด จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยมาก้าวกระโดด จาก 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 สถานบันเทิงในกรุงเทพฯ กลุ่มที่ 2 สนามมวยลุมพินี ราชดำเนิน อ้อมน้อย และกลุ่มที่ 3 ผู้ที่เดินทางไปร่วมชุมนุมทางศาสนาที่มาเลเซีย ซึ่งจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น นำไปสู่การที่รัฐบาลออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อ 26 มีนาคม 2563 และประกาศเคอร์ฟิวตามมาเมื่อ 3 เมษายน 2563 พร้อมกับมีมาตรการป้องกันโรคต่าง ๆ รวมทั้งขอความร่วมมือประชาชน ภายใต้นโยบาย อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ”

          ประเด็นที่น่าสนใจคือ ทำไมประเทศไทยสามารถควบคุมสถานการณ์โรคระบาดนี้ให้อยู่ในวงจำกัดได้ โดยหลังจากประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกาศเคอร์ฟิว จนถึงวันที่เริ่มใช้มาตรการผ่อนปรน เราได้เห็นถึงพฤติกรรมของประชาชนหลายอย่าง และจากการทำงานของหลายหน่วยงาน ที่พยายามต่อสู้กับโควิด-19 เพื่อให้ประเทศไทยรอดพ้นจากวิกฤตินี้

เริ่มจากประชาชนให้ความร่วมมือ ปฏิบัติตามนโยบาย ร่วมใจกันอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ด้วยการทำงานที่บ้าน เพื่อลดโอกาสได้รับและแพร่เชื้อ ดารา นักแสดง หรือผู้มีชื่อเสียงจากวงการต่างๆ ร่วมประชาสัมพันธ์การอยู่บ้าน ช่วยชาติ ทุกคนหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สร้างสุขอนามัยที่ดี ด้วยหลักปฏิบัติง่าย ๆ เช่น งดการรวมตัว ประชุม ชุมนุม ปรับตัวไปใช้การสื่อสารออนไลน์ ไม่เข้าใกล้กันในระยะประชิด เว้นระยะห่าง 2 เมตร เลี่ยงการสัมผัสสิ่งของสาธารณะ ล้างมือบ่อย ๆ เลี่ยงการอยู่ในที่แออัด การอยู่บ้านจึงมีความหมายใหม่ในฐานะที่เป็นหนึ่งในวิธีการช่วยชาติ

       ส่วนการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในทุกระดับ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เจ้าหน้าที่ทางการเเพทย์ ได้มีการเฝ้าระวัง ทั้งในชุมชนเเละสถานพยาบาล มีทีมสอบสวนโรคของทุกพื้นที่ จำนวนกว่า 1,000 ทีม ที่มีความพร้อมในการลงพื้นที่สอบสวนโรค ทำให้ไทยควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี รวมไปถึงการสื่อสารข้อมูลแก่ประชาชนผ่านเครือข่ายสื่อสาธารณะในหลายช่องทางที่ชัดเจน สม่ำเสมอเเละเป็นทิศทางเดียวกัน พร้อมกับการสำรวจพฤติกรรม เเละทัศนคติของประชาชนทั่วประเทศ เพื่อนำไปพัฒนามาตรการเเละปรับการสื่อสารที่ตรงเป้าหมายมากยิ่งขึ้น

       ความร่วมมือของคนในสังคมไทยและความอุตสาหะของบุคคลากรทางการเแพทย์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้โรคระบาดไม่รุนแรง ซึ่งตลอดเกือบ 7 เดือนที่มีการระบาดของโควิด-19 ประเทศไทยถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมากในการควบคุมโรคไม่ให้ระบาดในวงกว้าง เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย จนสำนักข่าว Bloomberg จัดอันดับให้ไทยจัดการโควิด-19 ได้ดีที่สุด เป็นอันดับ 4 ของโลก และสำนักข่าว CNN กล่าวชมเชยประเทศไทยว่าเป็น 1 ใน 4 ประเทศ (ร่วมกับฟินแลนด์ กรีซ นิวซีแลนด์) ที่ผู้นำประเทศ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีการดูแล เอาใจใส่ และบริหารจัดการได้ผลดีมากในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 หรือองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาชื่นชมประเทศไทยที่สามารถควบคุมโรคโควิด-19 ได้ดี โดยได้มาถ่ายทำและผลิตวิดีโอ “แบ่งปันประสบการณ์โควิด 19 และมุมมองการตอบสนองของประเทศไทย” ซึ่งเป็นคลิปสารคดีเกี่ยวกับความสำเร็จของไทยในการตอบสนองต่อโรคโควิด 19 และการป้องกันควบคุมโรค เพื่อถ่ายทอดและแบ่งปันประสบการณ์แก่ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก รวมทั้งGlobal COVID-19 Index (GCI) จัดให้ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 การฟื้นตัวของแต่ละประเทศจากสถานการณ์ของโรคโควิด-19 จาก 184 ประเทศทั่วโลก

          ปรากฏการณ์เหล่านี้ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่ว่า หากประชาชนยังมีวินัย หมั่นล้างมือ ใส่หน้ากาก และรักษาระยะห่าง ให้ความร่วมมืออย่างสม่ำเสมอ และมีบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานกันอย่างเต็มที่แบบนี้ จะทำให้เราสามารถสู้กับโรคระบาดนี้ได้ ถึงแม้จะมีข่าวการระบาดระลอก 2 เช่น เหตุการณ์ตรวจพบเชื้อไวรัสจากคนต่างชาติที่จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นแบบทดสอบที่ดี และสะท้อนถึงความสามารถของคนไทยในการรับมือกับการแพร่ระบาดระลอก 2  

       สถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ในอนาคตของไทย ยังไม่มีใครล่วงรู้ได้ว่าจะเป็นอย่างไร แต่ถ้าคนไทยยังคงยึดหลักปฏิบัติเดิมเหมือนที่เคยทำมา การ์ดไม่ตก เชื่อได้ว่าประเทศไทยจะสามารถ Fight กับโควิด-19 นี้ได้เหมือนที่เคยเป็นมา


 

ภูริชยา ภูวญาณ

ข้อมูลจากระบบรายงานข่าวสถานการณ์คุณธรรม ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)

ค้นหาหนังสือ

แนะนำหนังสือ

การส่งเสริมคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา

แนวทางการส่งเสริมองค์กรคุณธรรม

Think hack That's Great! แฮกไอเดีย แก้ปัญหาตรงใจ

สรุปเวทีรายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566 หัวข้อ “Morality in Brittle Society คุณธรรมในโลกทีเปราะบาง”

รายงานฉบับสมบูรณ์ การดำเนินงานจัดทำรายงานสถานการณ์คุณธรรมสังคมไทย ปี 2566

Infographic รายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566

องค์ความรู้ มององค์กรผ่าน BOMC เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรคุณธรรม

สตาร์ทอัพ กับการออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม

องค์ความรู้ รูปแบบพฤติกรรมและกิจกรรมการทําเพื่อสังคมในบริบทของสังคมไทย

องค์ความรู้ Dialogue และ Empathy Dialogue = กระบวนการชวนคุยเพื่อทําความเข้าใจองค์กร

สื่อสารอย่างเข้าใจ ทำอะไรก็สำเร็จ : องค์ความรู้ การสื่อสารด้วยความเข้าใจ ระหว่างคนต่างรุ่นในองค์กร

ผลสำรวจสถานการณ์คุณธรรมปี 2565-2566 ด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิตของคนไทย 3 ช่วงวัย

คุณธรรมกับโลกยุคโกลาหล : รายงานสถานการณ์คุณธรรมปี 2565 = Moral with the age of chaos

รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรม

รายงานการวิจัยเรื่อง การสำรวจสถานการณ์ทุนชีวิตคนไทย (Life Assets) ปี 2565

สรุปงานแถลงข่าวสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย ปี 2565 และเสวนาวิชาการ “อยู่อย่างไรให้รอด ในโลกที่เปราะบางและท้าทาย”

แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)

สรุปสาระสำคัญแผนปฏิบัติการฯคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570)

แท้จริงแล้วการพึ่งพากันทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น

คุณธรรมที่คุณสัมผัสได้ = Moral Development with Honey Bee Model