39891744 1849564331803084 8583322713186107392 n

 

            ปัจจุบัน ชุมชนท้องถิ่น นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ เพราะเป็นฐานรากที่สำคัญ ที่มีระบบการจัดการตนเองรองรับ ในระดับสูง ซึ่งเมื่อชุมชนท้องถิ่นหลายแห่ง เข้าใจในบทบาทหน้าที่ตนเองได้ดีแล้ว ก็จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์ได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในพื้นที่นั้น

          สามกงล้อสำคัญของการพัฒนานั้น ประกอบด้วย ความดีงาม ความสามารถ และความสุข (ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม) สามสิ่งนี้ ต้องมีการพัฒนาไปด้วยกันอย่างสมดุล โดยมีสภาผู้นำชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนา ซึ่งฐานสำคัญที่จะทำให้เกิดความสามารถและความสันติสุขที่ยั่งยืนได้นั้น ต้องอาศัยการพัฒนาคน ให้คนในชุมชนท้องถิ่นมีพฤติกรรมที่สะท้อนการมีคุณธรรม ความดี ยึดมั่นในหลักธรรมทางศาสนา หรือหลักการอยู่ร่วมกันทางสังคม ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และสืบสาน รักษา ต่อยอดวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมนั้นๆ  เมื่อมีคนส่วนใหญ่ใส่ใจส่วนรวมมากขึ้น ก็ย่อมจะเป็นโอกาสในการพัฒนามากขึ้น จนหลายๆแห่งที่มีปัจจัยเหล่านี้ สามารถพัฒนาตนเอง จนกลายเป็นต้นแบบด้านต่างๆ รวมถึงด้านความดีงามหรือคุณธรรม ความดี

200248

 

ความเป็นชุมชนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบด้านคุณธรรมนั้น สามารถพิจารณาจากหลักเกณฑ์สำคัญๆ  ได้ดังนี้

1. ยึดหลักคุณธรรมร่วม ชุมชนท้องถิ่น ที่ดำเนินการได้ประสบผลสำเร็จจนเกิดเป็นต้นแบบด้านคุณธรรมได้นั้น ย่อมจะมีการยึดมั่นในหลักคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ผ่านกิจกรรมกลุ่ม และวิถีการดำเนินชีวิตของชาวชุมชน ซึ่งกิจกรรมมีชีวิตนั้น ส่วนใหญ่สะท้อนถึงการมีและการส่งเสริมคุณธรรม ๕ ประการหลัก ภายใต้นโยบายปฏิรูปด้านคุณธรรม ประกอบด้วย

       1.1 พอเพียง หมายถึง คนในชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ ดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง มีเหตุผล ใช้ความรู้ในการตัดสินใจอย่างรอบคอบ มีความพอประมาณ พอดี ไม่เบียดเบียนตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อมให้เดือดร้อนเสียหาย ไม่ประมาท สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง

       1.2 วินัย หมายถึง คนในชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ ยึดมั่นและรับผิดชอบในหน้าที่ของตน ทั้งวินัยต่อตนเองในการผลักดันชีวิตให้ก้าวหน้า วินัยต่อองค์กร สังคม ปฏิบัติตามจริยธรรม จรรยาบรรณ และเคารพต่อกฎหมายบ้านเมือง 

       1.3 สุจริต หมายถึง คนในชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ มีความซื่อตรง ซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่น ยืนหลักในการรักษาความจริง ความถูกต้อง ความเป็นธรรมทั้งปวง นอกจากตนเองจะเป็นคนซื่อตรงแล้ว ต้องกล้าปฏิเสธการกระทำที่ไม่ซื่อตรง ไม่ซื่อสัตย์ของบุคคลอื่นที่จะทำให้ส่วนรวมเกิดความเสียหาย

       1.4 จิตอาสา หมายถึง คนในชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ เป็นผู้ที่ใส่ใจต่อสังคมสาธารณะ และอาสาลงมือทำอย่างใดอย่างหนึ่งอันมิใช่หน้าที่ของตนเอง ด้วยความรัก ความสามัคคี เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ของสังคม ของประเทศชาติ โดยมิได้หวังผลตอบแทน ทำความดีเพื่อ ความดี เอื้ออาทรต่อคนร่วมสังคม ทำอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย

       1.5 กตัญญูรู้คุณ หมายถึง คนในชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ แสดงออกถึงการรู้คุณค่าของบรรพชน บุพการี ประเทศชาติบ้านเมือง และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ลงมือปฏิบัติต่อบุคคลและสิ่งเหล่านั้นในเชิงบวก สร้างให้เกิดเป็นต่อการดำเนินชีวิตร่วมกันในทุกเพศ วัย ศาสนา อาชีพ และสภาพแวดล้อมที่ดีงาม

       1.6 หลักคุณธรรม ความดีอื่นๆ ที่ยึดถือร่วมกันของชุมชน เช่นหลักศีลห้า หลักตั๊กวา หลักศรัทธาอันบริสุทธิ์ หรือข้อตกลงคุณธรรมอื่นๆ ตามที่ชุมชนกำหนด

 

2. สร้างการมีส่วนร่วมได้ดี ชุมชนท้องถิ่น ที่ดำเนินการได้ประสบผลสำเร็จจนสามารถเป็นต้นแบบด้านคุณธรรมได้นั้น จะต้องมีหลักการดำเนินงานที่สำคัญ คือ การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ ในกระบวนการทำงานแต่ละขั้นตอน โดยประกอบไปด้วย

       2.1 การมีส่วนร่วมในการค้นหาข้อมูลจริง ข้อเท็จจริง ต้นทุนความดีและปัญหาที่อยากแก้ร่วมกัน

       2.2 การมีส่วนร่วมในการประกาศเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการให้เรื่องนั้นๆ สำเร็จ ตามเป้าหมายของชุมชนท้องถิ่น 

       2.3 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมแผนงาน หรือโครงการนั้นๆ และได้ดำเนินการตามแผนงานนั้นร่วมกัน จนเป็นวิถี

       2.4 การมีส่วนร่วมในการสร้างและปฏิบัติตามกติกา ข้อตกลง ธรรมนูญของชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ 

       2.5 การมีส่วนร่วมในการชื่นชม ยกย่องบุคคลหรือหน่วยงานที่ควรค่าแก่การยกย่อง

       2.6 การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน เพื่อปรับปรุงแก้ไข หรือจัดให้มีระบบการดำเนินงาน การจัดสภาพแวดล้อมต่างๆ ให้เอื้อต่อการดำเนินงานที่มีสภาพที่ดีขึ้น

 

3.มีผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ

       ชุมชนท้องถิ่น ที่ดำเนินการได้ประสบผลสำเร็จจนสามารถเป็นต้นแบบด้านคุณธรรมได้นั้น จะต้องมีผลการดำเนินที่สำคัญหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ พฤติกรรมของคนในชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเชิงบวก หรือพฤติกรรมที่ดี ที่สามารถสัมผัสได้ จับต้องได้ ดำรงอยู่ในวิถี โดยพิจารณาได้จากพฤติกรรมเชิงบวก หรือการแสดงออกที่ดีของคนส่วนใหญ่ ดังนี้ 

       3.1 การมีพฤติกรรมเชิงบวก ที่ส่งผลดีต่อตัวเอง

       3.2 การมีพฤติกรรมเชิงบวก ที่ดีต่อครอบครัว

       3.3 การมีพฤติกรรมเชิงบวก ที่ดีต่อเพื่อนบ้าน

       3.4 การมีพฤติกรรมเชิงบวก ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงานในกลุ่ม องค์กร หรือหน่วยงานที่ทำงาน

       3.5 การมีพฤติกรรมเชิงบวก ที่ดีต่อชุมชน ท้องถิ่นของตนเอง

       3.6 การมีพฤติกรรมเชิงบวก ที่ดีต่อผู้มาเยือน หรือ ประชาชน ชุมชนอื่นๆภายนอก

 

4. สร้างผลกระทบที่เกิดกับสังคม  

       ชุมชนท้องถิ่น ที่ดำเนินการได้ประสบผลสำเร็จจนสามารถเป็นต้นแบบด้านคุณธรรมได้นั้น จะต้องสามารถสร้างสิ่งที่เป็นผลกระทบต่อชุมชนและสังคมภายนอก ซึ่งสะท้อนถึงความยั่งยืนและการพัฒนาที่ต่อเนื่อง โดยพิจารณาได้จาก

       4.1 ผลกระทบต่อชุมชน ได้แก่ “ความสันติสุขที่เกิดกับชุมชน”  ซึ่งพิจารณาได้จากการหลุดพ้นอาชญากรรม การลดละเลิกอบายมุข สิ่งเสพติด การพนัน  การหลุดพ้นปัญหาหนี้สินที่สร้างทุกข์ให้กับคนในชุมชน การมีแหล่งทุนทำกินของตนเองที่มั่นคง การมีระบบสวัสดิการในชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน การมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคงขึ้น การมีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยที่มั่นคง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม การสืบทอดรักษาประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามจากรุ่นต่อรุ่น เกิดชื่อเสียงภาพลักษณ์ที่ดีงามต่อชุมชน และหน่วยงานภายนอกให้การยอมรับ

       4.2 ผลกระทบต่อสังคมภายนอก  ได้แก่ การมีหน่วยงานหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้นำเรื่องราวความสำเร็จนั้นจากชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ ไปปรับใช้ ขยายผลต่อ หรือยกระดับเป็นวาระทางสังคม มีการนำไปประกาศใช้ร่วมกันในพื้นที่นั้นๆ หรือมากกว่านั้น  

 

5. มีเป้าหมายความยั่งยืนที่จะเดินต่อ ในอนาคต ชุมชนท้องถิ่น ที่ดำเนินการได้ประสบผลสำเร็จจนสามารถเป็นต้นแบบด้านคุณธรรมได้นั้น จะต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำ หรือสิ่งที่บ่งบอกเป็นหลักประกันได้ว่าชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ จะเกิดความยั่งยืน  ได้แก่ ความมุ่งมั่นพยายาม ที่จะขยายผลภูมิปัญญา องค์ความรู้ของตนเอง ต่อสังคมภายนอก ให้สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากชุมชนท้องถิ่นตนเอง ไปขยายผลต่อในที่อื่นๆ การพัฒนาคนรุ่นใหม่ ที่จะสามารถถ่ายทอดเรื่องราวความสำเร็จ มีการพัฒนาทีมงาน มีสื่อ หรือฐานการเรียนรู้สำหรับการศึกษาดูงานขององค์กรภายนอก หรือมีมีนวต กรรมการพัฒนาที่เกิดขึ้น จากการดำเนินงานของชุมชนท้องถิ่นนั้น อย่างใดอย่างหนึ่ง 

200247

 

       ความเป็นต้นแบบด้านคุณธรรมนั้น อย่างน้อยสามข้อแรก ต้องปรากฏชัดหรืออธิบายได้ จับต้องได้ แต่ถ้าจะยกระดับให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงคุณธรรม จะต้องเพิ่มความเข้มข้นสองประการหลัง คือ สร้างผลงานตัวเองให้ส่งผลกระทบต่อสังคมภายนอกได้ และออกแบบชุมชนท้องถิ่นตนเอง ที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนในระยะยาว แนวทางเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ศูนย์คุณธรรม ใช้เป็นหลักการในการค้นหา คัดเลือกชุมชนท้องถิ่นต้นแบบด้านคุณธรรม  และส่งเสริมสนับสนุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงคุณธรรม ให้มีพลังต่อไป



ยงจิรายุ   อุปเสน

ผู้จัดการสำนักส่งเสริมและขับเคลื่อนเครือข่ายทางสังคม

ค้นหาหนังสือ

แนะนำหนังสือ

การส่งเสริมคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา

แนวทางการส่งเสริมองค์กรคุณธรรม

Think hack That's Great! แฮกไอเดีย แก้ปัญหาตรงใจ

สรุปเวทีรายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566 หัวข้อ “Morality in Brittle Society คุณธรรมในโลกทีเปราะบาง”

รายงานฉบับสมบูรณ์ การดำเนินงานจัดทำรายงานสถานการณ์คุณธรรมสังคมไทย ปี 2566

Infographic รายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566

องค์ความรู้ มององค์กรผ่าน BOMC เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรคุณธรรม

สตาร์ทอัพ กับการออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม

องค์ความรู้ รูปแบบพฤติกรรมและกิจกรรมการทําเพื่อสังคมในบริบทของสังคมไทย

องค์ความรู้ Dialogue และ Empathy Dialogue = กระบวนการชวนคุยเพื่อทําความเข้าใจองค์กร

สื่อสารอย่างเข้าใจ ทำอะไรก็สำเร็จ : องค์ความรู้ การสื่อสารด้วยความเข้าใจ ระหว่างคนต่างรุ่นในองค์กร

ผลสำรวจสถานการณ์คุณธรรมปี 2565-2566 ด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิตของคนไทย 3 ช่วงวัย

คุณธรรมกับโลกยุคโกลาหล : รายงานสถานการณ์คุณธรรมปี 2565 = Moral with the age of chaos

รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรม

รายงานการวิจัยเรื่อง การสำรวจสถานการณ์ทุนชีวิตคนไทย (Life Assets) ปี 2565

สรุปงานแถลงข่าวสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย ปี 2565 และเสวนาวิชาการ “อยู่อย่างไรให้รอด ในโลกที่เปราะบางและท้าทาย”

แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)

สรุปสาระสำคัญแผนปฏิบัติการฯคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570)

แท้จริงแล้วการพึ่งพากันทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น

คุณธรรมที่คุณสัมผัสได้ = Moral Development with Honey Bee Model