article 11 4 63

 

           เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดตัวชี้วัดคุณธรรมใน 4 จังหวัด คือ เชียงราย พระนครศรีอยุธยา อุดรธานี และสุราษฎร์ธานี โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้นำกระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษามาประยุกต์ใช้กับการเก็บข้อมูลด้านคุณธรรม ด้วยวิธีเชิงคุณภาพแบบ Inside out approach โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างทีมกระบวนการ ซึ่งประกอบไปด้วย คุณจารุปภา วะสี จากมูลนิธพิพิธภัณฑ์แม่ ดร.ศักดิ์ชัย อนันต์ตรีชัย คุณรัชนี วิศิษฎ์วโรดม จากศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล คุณสุสินี วรศรีโสทร จากมูลนิธิสหธรรมิกชน และทีมวิชาการกลุ่มงานวิจัยนวัตกรรมระบบพฤติกรรมไทย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)

 

          สำหรับประเด็นสำคัญที่จะนำมาถ่ายทอดในบทความนี้ ไม่ได้เป็นผลจากการจัดกระบวนการพัฒนาตัวชี้วัดคุณธรรมโดยตรง แต่เป็นกิจกรรมหนึ่งที่นำมาใช้ในกระบวนการและเป็นภาพจำลองที่กลายเป็นสถานการณ์จริงในปัจจุบัน คือ เกมไวรัส เกมนี้ทีมกระบวนกรออกแบบเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเชื่อมโยงความหมายของคุณธรรมเข้ากับความหมายของชีวิต ด้วยการจำลองสถานการณ์สะท้อนจิตคุณธรรม ซึ่งมีสองแบบที่นำมาทดลองใช้

 

          แบบที่ 1 ตั้งคำถาม 5 ข้อในสถานการณ์ไวรัสโคโรนา เพื่อให้ผู้เข้าร่วมรับฟัง และเขียนตอบอย่างฉับพลัน เมื่อฟังคำถามแต่ละข้อจบ โดยไม่จำเป็นต้องบอกเล่าสิ่งที่เขียนกับคนอื่น โดยคำถาม 5 ข้อประกอบไปด้วย

1) ขณะนี้ เชื้อไวรัสโคโรนาได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง จนเกินขีดความสามารถของโรงพยาบาลที่จะรองรับได้ ทางการจึงวางแผนจะสร้างสถานพยาบาลชั่วคราวฉุกเฉินเพื่อรักษาผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนาภายในหมู่บ้านของคุณ ซึ่งสถานพยาบาลนี้อยู่ห่างจากบ้านคุณไม่ถึง 100 เมตร เมื่อทราบข่าวนี้ คนในหมู่บ้านจึงรวมตัวกันขึ้นมาต่อต้านแผนการนี้ คุณจะรู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์นี้ และจะทำอย่างไรกัสถานการณ์นี้

2) คุณเป็นเจ้าของร้านขายยาและมีหน้ากากอนามัย N95 จำนวนมาก ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่ในขณะนี้ แต่คุณเพิ่งได้ข่าวมาว่าสินค้ากำลังจะขาดตลาดภายในวันสองวันนี้ คุณจะรู้สึกอย่างไร และจะทำอย่างไรกับสินค้าที่มีอยู่

3) รัฐได้ออกมาตรการให้ขายหน้ากากอนามัยได้ไม่เกินคนละ 6 ชิ้น แต่มีลูกค้ารายหนึ่งเสนอราคาให้สูงกว่าราคาปกติ 3 เท่าต่อชิ้น โดยจะขอซื้อหน้ากากทั้งหมดที่คุณมีอยู่ คุณจะรู้สึกอย่างไร และจะทำอย่างไร

4) ตอนนี้ คนในหมู่บ้านติดเชื้อไวรัสโคโรนากันเป็นจำนวนมาก จนเกินความสามารถของหมอและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะทำการดูแลรักษาได้อย่างทั่วถึง คุณจะรู้สึกอย่างไร และจะทำอย่างไรกับสถานการณ์นี้

5) คุณเริ่มมีไข้ และมีอาการไอ จามเล็กน้อย คุณจะมีความรู้สึกอย่างไร และจะปฏิบัติตัวอย่างไร

 

          แบบที่ 2 เล่นเกมไวรัสระบาด โดยจำลองสถานการณ์ว่าผู้เล่นอาศัยอยู่ในชุมชนที่เริ่มมีการระบาดของไวรัส แต่ละคนมีหน้ากากอนามัยคนละ 2 ชิ้น (จำลอง) ซึ่งต้องรักษาไว้กับตัวเองอย่างน้อย 1 ชิ้นจึงจะรอดชีวิต และหากตายแล้ว เพื่อนสามารถสละหน้ากากอนามัยของตัวเองเพื่อให้คนตายกลับมามีชีวิตได้อีกครั้ง ขณะเดียวกันผู้จัดกระบวนการจะแสดงเป็นไวรัสที่คอยแย่งหน้ากากอนามัยจากผู้เข้าร่วม ขณะเดียวกันที่โรงพยาบาลประจำชุมชน (จำลอง) ก็มีคลังหน้ากากอนามัยที่มีไวรัสคุ้มกันอยู่อย่างแน่นหนา โจทย์คือ ทำอย่างไรให้คนในชุมชนรอดชีวิตให้ได้มากที่สุดในเวลาที่กำหนด

 

โดยในช่วงท้ายของกิจกรรมทั้ง 2 แบบคือ การแลกเปลี่ยนความรู้สึก ประสบการณ์ และการเรียนรู้ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

 

          กิจกรรมแบบที่ 1 ได้นำไปใช้ในการจัดเวทีที่เชียงราย โดยผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์จำลองทั้ง 5 เหตุการณ์ เช่น ในคำถามข้อที่ 1 ที่จำลองสถานการณ์ว่าจะสร้างสถานพยาบาลชั่วคราวฉุกเฉินเพื่อรักษาผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนาภายในหมู่บ้าน หลายคนแสดงความรู้สึกว่ากังวล แต่ก็ยินดีให้ความช่วยเหลือ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชนโดยการเรียกประชุมลูกบ้านและลงประชามติ ถ้าลูกบ้านส่วนใหญ่ต้องการก็ดำเนินการอย่างระมัดระวังและหาจุดประนีประนอม หรือในคำถามข้อ 4 ตอนนี้ คนในหมู่บ้านติดเชื้อไวรัสโคโรนากันเป็นจำนวนมาก จนเกินความสามารถของหมอและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะทำการดูแลรักษาได้อย่างทั่วถึง หลายคนแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์นี้ว่าต้องดูแลตนเองให้มีสุขภาพที่ดี เพราะเป็นการดูแลหมู่บ้านและชุมชนไปด้วยในเวลาเดียวกัน

 

          กิจกรรมแบบที่ 2 ได้นำไปใช้ในการจัดเวทีที่พระนครศรีอยุธยา อุดรธานี และสุราษฎร์ธานี ผู้เข้าร่วมทั้ง 3 พื้นที่ได้สะท้อนความรู้สึกและสิ่งที่ได้เรียนรู้ว่า ได้เห็นความพยายามเอาตัวรอด แต่ในขณะเดียวกันก็เห็นความร่วมมือร่วมใจ การช่วยเหลือดูแลกัน โดยได้สะท้อนในช่วงการแลกเปลี่ยน เช่น

“แม้ทุกคนต่างพยายามเอาตัวรอดในยามวิกฤต อันเป็นสัญชาตญาณการเอาตัวรอดของมนุษย์ แต่เมื่อตนเองรอดแล้วก็ยังคิดหาทางช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป”

“ถ้ามีชีวิตคนเดียว จะรู้สึกโดดเดี่ยว ต้องแบ่งปันกัน”

“ถ้าเราอยากมีชีวิตอยู่รอด เราอยู่ตัวคนเดียวไม่ได้”

“การอยู่ในสังคมไม่ได้อยู่คนเดียว เราต้องพยายามช่วยเหลือคนอื่นด้วย”

“มีเป้าหมายร่วมกันว่าต้องอยู่รอด แต่ละคนมีหน้าที่ของตัวเอง แต่การทำหน้าที่ของตัวเองเพียงคนเดียวไม่เพียงพอ เพื่อนที่มีเป้าหมายร่วมต้องช่วยกัน”

“ในสังคมมีคนหลายระดับ มีทั้งคนที่สามารถและไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ดังนั้นคนที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ควรช่วยเหลือผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ด้วย

“เกมนี้เป็นเกมชีวิตที่ย่อส่วนลงมาอย่างแท้จริง”

 

          ปัจจุบันเดือนเมษายน 2563 เกมไวรัสในวันนั้นกลายมาเป็นสถานการณ์จริงในวันนี้ สังคมไทย รวมทั้งสังคมโลกกำลังเดินมาถึงจุดท้าทายที่สำคัญ ทั้งในด้านการแพทย์ การสาธารณสุข และในด้านคุณธรรมในจิตใจมนุษย์ เกมครั้งนี้จึงเป็น “เกมชีวิต” ซึ่งเกมจะจบอย่างไร และมนุษย์จะได้เรียนรู้อะไร ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเลือก แต่ถ้าสิ่งที่ผู้เข้าร่วมเล่นเกมไวรัสได้สะท้อนไว้ก่อนหน้านี้ คือมนุษย์เราอยู่รอดตามลำพังไม่ได้ แต่ต้องเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน เราจึงจะรอดไปด้วยกัน

 

ธัญลักษณ์ ศรีสง่า
www.thaissf.org, twitter.com/jitwiwat

Credeit : https://www.matichon.co.th/article/news_2123386

ค้นหาหนังสือ

แนะนำหนังสือ

Think hack That's Great! แฮกไอเดีย แก้ปัญหาตรงใจ

สรุปเวทีรายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566 หัวข้อ “Morality in Brittle Society คุณธรรมในโลกทีเปราะบาง”

รายงานฉบับสมบูรณ์ การดำเนินงานจัดทำรายงานสถานการณ์คุณธรรมสังคมไทย ปี 2566

Infographic รายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566

องค์ความรู้ มององค์กรผ่าน BOMC เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรคุณธรรม

สตาร์ทอัพ กับการออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม

องค์ความรู้ รูปแบบพฤติกรรมและกิจกรรมการทําเพื่อสังคมในบริบทของสังคมไทย

องค์ความรู้ Dialogue และ Empathy Dialogue = กระบวนการชวนคุยเพื่อทําความเข้าใจองค์กร

สื่อสารอย่างเข้าใจ ทำอะไรก็สำเร็จ : องค์ความรู้ การสื่อสารด้วยความเข้าใจ ระหว่างคนต่างรุ่นในองค์กร

ผลสำรวจสถานการณ์คุณธรรมปี 2565-2566 ด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิตของคนไทย 3 ช่วงวัย

คุณธรรมกับโลกยุคโกลาหล : รายงานสถานการณ์คุณธรรมปี 2565 = Moral with the age of chaos

รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรม

รายงานการวิจัยเรื่อง การสำรวจสถานการณ์ทุนชีวิตคนไทย (Life Assets) ปี 2565

สรุปงานแถลงข่าวสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย ปี 2565 และเสวนาวิชาการ “อยู่อย่างไรให้รอด ในโลกที่เปราะบางและท้าทาย”

แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)

สรุปสาระสำคัญแผนปฏิบัติการฯคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570)

แท้จริงแล้วการพึ่งพากันทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น

คุณธรรมที่คุณสัมผัสได้ = Moral Development with Honey Bee Model

องค์ความรู้ คู่มือการจัดการแฮกกาธอน : แฮกไอเดีย สร้างนวัตกรรมทางสังคม (Moral Hackathon)

เวทีนำเสนอสถานการณ์คุณธรรม