646964

 

ชุมชนคุณธรรมพลัง บ(อ)วร.

          จริงๆแล้ว คำนี้ ควรใช้คำว่า ชุมชนคุณธรรมพลัง บอวร. หรือ บอรม. (ในพื้นที่ชุมชนมุสลิม)  อักษรแต่ละคำ มีความหมายอย่างไร ทำไมต้องมี อ. ส่วน ว. และ  ม. พอเดาออกว่า เป็นคำย่อของวัด (ว.)ในมิติชุมชนที่มีชาวพุทธเยอะ และ มัสยิด (ม.) ในมิติชุมชนมุสลิมเยอะ 

คำที่เพิ่มขึ้นมา จากสามตัวแรก ที่มี บ. คือ บ้านหรือชาวบ้าน ที่มีกลไกกรรมการหมู่บ้าน เป็นแกนหลัก  และ ร. คือ ส่วนราชการในพื้นที่นั้นๆ รวมถึงโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา คือ อ. คำนี้ มีความหมายถึงหุ้นส่วนการพัฒนาอีกหนึ่ง Sector  นั่นคือ องค์กรภาคธุรกิจเอกชน 

 

            เราไม่ควรลืมบทบาทของภาคเอกชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนา ที่มีมายาวนานในประวัติศาสตร์มนุษย์ ตั้งแต่มีระบบการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ซึ่งสมัยก่อน มีผู้ผลิต นำมาจำหน่าย หรือ มีผู้นำของที่คนอื่นผลิตมาแล้วไปจำหน่ายตามที่ต่างๆ จนเกิดคำที่เรียกว่า พ่อค้า ในเชิงสัญลักษณ์มาจนทุกวันนี้ พ่อค้า มีส่วนสำคัญในการพัฒนาเมืองมาแต่โบราณกาล เมื่อร่ำรวยขึ้นชาวบ้านก็เรียกเศรษฐี หรือผู้ใจบุญ ที่มีทรัพย์มากนั่นเอง พ่อค้าในอดีตช่วยสร้างเมืองให้เข้มแข็ง สร้างศาสนสถานให้อลังการ เพราะมีทุนทรัพย์มาก แถมในสถานการณ์ที่ยากลำบาก พ่อค้าหรือเศรษฐีเหล่านี้ จะนำอาหาร สิ่งของมาทำโรงทาน ช่วยเหลือแบ่งปันสังคม เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐี  เป็นต้น

 

             การพัฒนาชุมชนคุณธรรม จึงต้อง อาศัยพลังของเอกชน เข้ามาเสริมแรง ให้เข้มข้น ครบเครื่อง ทั้งเรื่องทุน เรื่องสื่อ เครื่องมือที่ทันสมัย และสิ่งใหม่ๆ ที่จะช่วยให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ ดังความสำเร็จที่เราเห็นบริษัทเอกชนต่างๆ ที่ได้ออกมาช่วยเหลือสังคมอยู่เสมอ โดยแบ่งกำไรให้สังคมเป็นนโยบายบริษัท เช่น บ.ริกิ การ์เมนส์ จำกัด ที่ไปช่วยชุมชนทำฝายมีชีวิตทุกปี  บ.เจ เอช อุตสาหกรรม จำกัด ที่โคราช ที่ช่วยชุมชนรอบข้างโรงงานมาตลอดสิบๆปี  บ.ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ที่ออกไปช่วยส่งเสริมสุขภาพชุมชน  บ.ผึ้งน้อย เบเกอรี่ จำกัด ที่เชียงใหม่ ที่เน้นสร้างคนดีคู่กับสังคมดี และอื่นๆอีกมากมาย นับไม่ถ้วน เท่าที่ได้รายงานมาจากโครงการส่งเสริมองค์กรธุรกิจคุณธรรม จากศูนย์คุณธรรม

 

               การสื่อสารชุมชนคุณธรรม ด้วยพลัง บอวร. หรือ บอรม. จึงต้องไม่ลืมภาคเอกชน ในพื้นที่หรือในตำบลนั้นๆ และต้องยกให้เป็นกัลยาณมิตรที่จะเข้ามาเสริมให้ชุมชนเข้มแข็งเป็นสุข  เรื่องนี้ อยู่ในหลักการของการส่งเสริมธรรมนูญสันติสุขหมู่บ้าน ใครอยากทราบมากกว่านี้ ให้ไปศึกษาที่ จ.บุรีรัมย์ หรือในเครือข่ายความสุขชุมชน ใน 15 จังหวัด จะได้คำตอบ ..

 

      ยงจิรายุ   อุปเสน

ค้นหาหนังสือ

แนะนำหนังสือ

การส่งเสริมคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา

แนวทางการส่งเสริมองค์กรคุณธรรม

Think hack That's Great! แฮกไอเดีย แก้ปัญหาตรงใจ

สรุปเวทีรายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566 หัวข้อ “Morality in Brittle Society คุณธรรมในโลกทีเปราะบาง”

รายงานฉบับสมบูรณ์ การดำเนินงานจัดทำรายงานสถานการณ์คุณธรรมสังคมไทย ปี 2566

Infographic รายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566

องค์ความรู้ มององค์กรผ่าน BOMC เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรคุณธรรม

สตาร์ทอัพ กับการออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม

องค์ความรู้ รูปแบบพฤติกรรมและกิจกรรมการทําเพื่อสังคมในบริบทของสังคมไทย

องค์ความรู้ Dialogue และ Empathy Dialogue = กระบวนการชวนคุยเพื่อทําความเข้าใจองค์กร

สื่อสารอย่างเข้าใจ ทำอะไรก็สำเร็จ : องค์ความรู้ การสื่อสารด้วยความเข้าใจ ระหว่างคนต่างรุ่นในองค์กร

ผลสำรวจสถานการณ์คุณธรรมปี 2565-2566 ด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิตของคนไทย 3 ช่วงวัย

คุณธรรมกับโลกยุคโกลาหล : รายงานสถานการณ์คุณธรรมปี 2565 = Moral with the age of chaos

รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรม

รายงานการวิจัยเรื่อง การสำรวจสถานการณ์ทุนชีวิตคนไทย (Life Assets) ปี 2565

สรุปงานแถลงข่าวสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย ปี 2565 และเสวนาวิชาการ “อยู่อย่างไรให้รอด ในโลกที่เปราะบางและท้าทาย”

แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)

สรุปสาระสำคัญแผนปฏิบัติการฯคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570)

แท้จริงแล้วการพึ่งพากันทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น

คุณธรรมที่คุณสัมผัสได้ = Moral Development with Honey Bee Model