เมื่อ ๓๐ ปีก่อนทางราชการได้จัดทำโครงการอีสานเขียว ด้วยการแนะนำให้เกษตรกรใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตของพืชผลทางเกษตรในภาคอีสาน ผลการดำเนินการตามโครงการนี้ใน ระยะแรกสามารถเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรได้จริง แต่ต่อมาเกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเกษตรกรและระบบนิเวศของพื้นที่อีสาน

     พ่อวิจิตร บุญสูง ปราชญ์ชาวบ้านของจังหวัดยโสธรเล่าให้ฟังว่า หลังจากใช้สารเคมี ๓-๔ ปี การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน คือ ดินเริ่มกระด้างและแข็งจนใช้กระบือไถนาไม่ได้ ต้องเปลี่ยนเป็นรถไถ และสัตว์น้ำในพื้นนาที่เคยมีได้สูญหายไปหมดยาฆ่าแมลงที่ใช้ปราบศัตรูพืช ได้ทำลายสัตว์ชนิดอื่นที่เคยทำลายศัตรูพืชตามธรรมชาติด้วย ระบบนิเวศจึงเริ่มถูกทำลาย และผลที่ตามมา คือ ชาวบ้านเริ่มมีการเจ็บป่วยโดยไม่รู้สาเหตุบ่อยขึ้น การใช้สารเคมีช่วยเพิ่มผลผลิตทาง การเกษตรได้จริง แต่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่าย และมีสารตกค้างที่มีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค จึงเป็นเหตุให้ต่างประเทศเริ่มมีการกวดขันสารตกค้างในผลผลิตจากประเทศไทย

 

     นอกจากนั้น เกษตรเคมีได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของชาวบ้านจากที่พึ่งตนเอง มาเป็นอุตสาหกรรมการเกษตรที่ต้องพึ่งนายทุนในด้านเครื่องทุนแรงและสารเคมี การเกษตรชนิดต่างๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตสิ่งเหล่านี้เป็นภาระที่เพิ่มค่า ใช้จ่ายให้กับเกษตรกรมากขึ้นและมีจำนวนสูงขึ้นๆ เรื่อยๆ ทำให้ผลกำไรที่เกษตรกรคาดหวังว่าจะใช้ในการดำรงชีพ กลับกลายเป็นรายได้ของนายทุนผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมากขึ้น

 

     ในปี ๒๕๓๓ มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ นักเกษตรกรรมธรรมชาติชาวญี่ปุ่นได้มาเยือนประเทศไทยและให้ความรู้เกี่ยวกับ เกษตรธรรมชาติที่อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร

 

     การบรรยายครั้งนี้  “ตรงใจ” เกษตรกรชาวยโสธรที่เริ่มได้รับความเจ็บปวดจากเกษตรเคมี จึงมีการรวมตัวกันเป็น “เครือข่ายเพื่อนธรรมชาติ” เพื่อส่งเสริมและจัดจำหน่ายข้าวปลอดสารพิษให้กับผู้บริโภค ต่อมาในปี ๒๕๓๗ ได้จัดตั้งเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรจังหวัดยโสธรเพื่อทำเกษตรปลอดสารพิษทางเคมี และได้ยกระดับจากข้าวปลอดสารพิษเป็น “ข้าวอินทรีย์” แบบรับรองมาตรฐานในปี ๒๕๔๒

 

     พ่อวิจิตรได้เล่าให้ฟังจาก ประสบการณ์ว่า การชักชวนให้ชาวบ้านเปลี่ยนวิถีชีวิตกลับมาสู่เกษตรธรรมชาติเหมือนสมัยก่อน เป็นเรื่องยากเหมือน “เข็นครกขึ้นภูเขา” เพราะชาวนาต้องเพิ่มภาระในการทำปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุจากธรรมชาติ และการรับรองคุณภาพปลอดสารพิษไม่ได้รับความเชื่อถือจากผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้ พ่อวิจิตรจึงร่วมมือกับพระคุณเจ้าพรหมมา สุภทฺโท รองเจ้าอาวาสวัดป่าสวนธรรมร่วมใจ อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร จัดตั้ง“เครือข่ายคุณค่า ข้าวคุณธรรม” ในปี ๒๕๔๙ โดยได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจากชุดโครงการวิจัยการพัฒนาขบวนการสหกรณ์ใน พื้นที่ ๓๖ จังหวัด สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

     วัตถุประสงค์ของโครงการนี้  เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้กับข้าวที่ผลิตได้ให้เป็นที่เชื่อถือของผู้บริโภค ด้วยการพัฒนาคนและผลผลิต โดยนำจุดแข็งด้านคุณธรรมมาใช้ภายใต้คำขวัญ “ศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา” จุดสำคัญของโครงการนี้ คือ การสร้างอุดมการณ์แห่งความร่วมมือใน ๒ มิติ

 

     มิติแรก เป็นการสร้างต้นแบบห่วงโซ่อุปทานหรือความต้องการสินค้าที่มีคุณค่า ด้วยกรอบความคิด “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และนำผลผลิตเกษตรอินทรีย์จากชาวนาไปสู่ผู้บริโภคคนสุดท้ายอย่างมีคุณภาพ

 

     มิติที่สอง เป็นต้นแบบของการพัฒนาคนให้มีความร่วมมือกันที่จะสร้างระบบคุณธรรมให้เกิด เป็นกลไกการผลิตและการตลาด ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการทางเศรษฐกิจและสังคม ที่จะช่วยให้เกิดการสร้างคนในการปฏิบัตินอกห้องเรียนอย่างเป็นรูปธรรมมาก ขึ้น

 

     ตามแนวคิดนี้ เกษตรกรสมาชิกเครือข่ายคุณค่าข้าวคุณธรรมต้องพัฒนาตนเองให้มี“คุณธรรม” ด้วยการตั้งปณิธานว่า “จะถือศีล ๕ และลดอบายมุข ๓ ประการ คือ ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ และไม่เล่นการพนัน” เมื่อตัดสินใจเข้าร่วมเครือข่าย สมาชิกต้องเข้ารับการอบรมปฐมนิเทศที่วัดป่าสวนธรรมเป็นเวลา ๕ วัน เพื่อเรียนรู้การครองตนให้อยู่ในศีลธรรมอันดีและศึกษาวิธีการทำเกษตร อินทรีย์ที่มีคุณภาพ พระคุณเจ้าพรหมมาได้อธิบายว่า การรักษาศีลและลดอบายมุข เป็นการ “ลดค่าใช้จ่าย” ที่ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งถ้าเลิกอบายมุขการเที่ยวในเวลากลางคืนก็จะยิ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายมากขึ้น

 

       ในด้านการประกันคุณภาพ มีการตรวจสอบอย่างเข้มข้นโดยแกนนำคนสำคัญ ได้แก่ ผู้นำกลุ่มชาวนาและพระสงฆ์ในชุมชนเป็นผู้สอนหลักธรรมให้กับสมาชิกในกลุ่ม นักส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้ประเมินผลผลิตอินทรีย์ตามมาตรฐานของโครงการ โดยมีการตรวจ“ที่แปลงนา ระดับเพื่อนบ้าน และการตรวจศีลที่วัด” การตรวจศีลที่วัด พระคุณเจ้าได้ประยุกต์การปลงอาบัติของพระมาใช้ ด้วยการให้เกษตรกรที่ผิดพลาดในการรักษาศีล มาสารภาพความผิดที่กระทำกับพระและสัญญาว่าจะไม่ทำเช่นนั้นอีก สำหรับการรับรองคุณภาพนั้น จะกระทำเป็นปีๆ หากไม่ผ่านการตรวจสอบในเรื่องความเป็นข้าวอินทรีย์บริสุทธิ์และการรักษาศีล ปราศจากอบายมุข จะไม่ได้รับการรับรองและรับผลผลิตเข้าขายในโครงการ หากปีต่อไปปรับปรุงคุณภาพก็จะได้รับการรับรองและสามารถส่งผลผลิตเข้าโครงการได้ ในด้านการบริหารโครงการ พ่อวิจิตรเล่าให้ฟังว่า ได้นำระบบสหกรณ์มาประยุกต์ใช้ในการรับซื้อผลผลิตของเกษตรกรในกลุ่มด้วยการนำ หลักความเชื่อถือไว้วางใจซึ่งกันและกันมาใช้ เท่าที่ผ่านมามีสมาชิกบางรายไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็ใช้วิธีการพูดคุยไกล่ เกลี่ย ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีปัญหาข้อขัดข้อง ส่วนเหตุผลที่ไม่นำระบบสหกรณ์มา ใช้อย่างสมบูรณ์นั้น พ่อวิจิตรให้ความเห็นว่า ระบบสหกรณ์ของทางราชการมีความยุ่งยากในการกระบวนการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร จึงต้องใช้เพียงการประยุกต์ใช้เท่านั้น

 

     จวบจนถึงปัจจุบัน เครือข่ายคุณค่าข้าวคุณธรรมจำนวน ๑๐๘ ครัวเรือนจาก ๔ จังหวัด แม้จะมีจำนวนไม่มากเพราะมาตรฐานสูง แต่ก็เป็นก้าวแรกของการสร้างคุณค่าให้กับเกษตรกรชาวนาไทย นอกจากนั้น โครงการข้าวคุณธรรม เป็นการใช้จุดแข็งด้านศีลธรรมเพื่อสร้างความน่าเชื่อถืออันส่งผลให้มีรายได้ ให้ดีขึ้น และเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับสังคม เพราะเมื่อประชาชนห่างไกลการพนัน ไม่มึนเมาไปกับเหล้ายา ก็จะทำให้ครอบครัวของชาวนาที่ร่วมโครงการมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น จากที่ไม่เคยเหลือเก็บ เกิดทะเลาะวิวาทเมื่อเหล้าเข้าปาก ก็เปลี่ยนเป็นการหันหน้าพูดคุยกันอย่างเข้าใจ ไม่มีหนี้สินเพราะเลิกเล่นการพนัน ซึ่งสร้างความสุขให้กับสังคมและครอบครัวเป็นอย่างมาก

 

     “ข้าวคุณธรรม” เป็นแบบอย่างของความร่วมมือในชุมชน ที่รัฐบาลควรสนับสนุนให้ขยายตัวไปสู่ชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยให้สังคมไทยได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืนก่อให้เกิด “ประโยชน์สุข” อย่างแท้จริง

 

     อนึ่ง ท่านที่สนใจสนับสนุน “ข้าวคุณธรรม” เพื่ออภินันทนาการให้กับมิตรสหายในวันปีใหม่ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ คุณนิคม เพชรผา  โทรศัพท์ ๐๘๘-๐๗๓-๔๒๗๗ หรือ Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 


 

เขียนให้ “โพสต์ทูเดย์”

๑๕ ธ.ค.๕๗

ค้นหาหนังสือ

แนะนำหนังสือ

Think hack That's Great! แฮกไอเดีย แก้ปัญหาตรงใจ

สรุปเวทีรายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566 หัวข้อ “Morality in Brittle Society คุณธรรมในโลกทีเปราะบาง”

รายงานฉบับสมบูรณ์ การดำเนินงานจัดทำรายงานสถานการณ์คุณธรรมสังคมไทย ปี 2566

Infographic รายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566

องค์ความรู้ มององค์กรผ่าน BOMC เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรคุณธรรม

สตาร์ทอัพ กับการออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม

องค์ความรู้ รูปแบบพฤติกรรมและกิจกรรมการทําเพื่อสังคมในบริบทของสังคมไทย

องค์ความรู้ Dialogue และ Empathy Dialogue = กระบวนการชวนคุยเพื่อทําความเข้าใจองค์กร

สื่อสารอย่างเข้าใจ ทำอะไรก็สำเร็จ : องค์ความรู้ การสื่อสารด้วยความเข้าใจ ระหว่างคนต่างรุ่นในองค์กร

ผลสำรวจสถานการณ์คุณธรรมปี 2565-2566 ด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิตของคนไทย 3 ช่วงวัย

คุณธรรมกับโลกยุคโกลาหล : รายงานสถานการณ์คุณธรรมปี 2565 = Moral with the age of chaos

รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรม

รายงานการวิจัยเรื่อง การสำรวจสถานการณ์ทุนชีวิตคนไทย (Life Assets) ปี 2565

สรุปงานแถลงข่าวสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย ปี 2565 และเสวนาวิชาการ “อยู่อย่างไรให้รอด ในโลกที่เปราะบางและท้าทาย”

แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)

สรุปสาระสำคัญแผนปฏิบัติการฯคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570)

แท้จริงแล้วการพึ่งพากันทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น

คุณธรรมที่คุณสัมผัสได้ = Moral Development with Honey Bee Model

องค์ความรู้ คู่มือการจัดการแฮกกาธอน : แฮกไอเดีย สร้างนวัตกรรมทางสังคม (Moral Hackathon)

เวทีนำเสนอสถานการณ์คุณธรรม