มาตรฐานด้านคุณธรรม เครื่องมือเสริมพลังองค์กร : โดย ธัญลักษณ์ ศรีสง่า


 ภป คุณธรรมองค์กร

 

          โจทย์ท้าทายหนึ่งของการทำงานเชิงพัฒนาในประเด็นที่มีความเป็นนามธรรม คือการวัดผลความเปลี่ยนแปลงให้เห็นเป็นรูปธรรม ซึ่งในกรณีของการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทยก็เผชิญกับโจทย์ท้าทายนี้เช่นกัน

 

          แนวทางการส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทยที่ดำเนินการโดยศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) เน้นการส่งเสริมให้องค์กรเป็นผู้กำหนดประเด็นและกระบวนการส่งเสริมคุณธรรมตามบริบท โดยคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งแนวทางนี้อยู่บนสมมุติฐานที่ว่าเมื่อองค์กรต่างๆ มีการขับเคลื่อนเรื่องคุณธรรมแล้วจะเชื่อมโยงเป็นภาพของสังคมคุณธรรม

 

          อย่างไรก็ตาม มักมีข้อคำถามเกิดขึ้นว่า ถ้าในกรณีขององค์กรที่เริ่มต้นนำมิติคุณธรรมมาใช้ในการพัฒนาองค์กรควรเริ่มต้นอย่างไร และจะติดตามความเปลี่ยนแปลงที่ี่เกิดขึ้นในองค์กรได้อย่างไร ซึ่งจากประเด็นคำถามนี้นำมาสู่การพัฒนามาตรฐานค้นคุณธรรม เพื่อเป็นแนวทางให้กับองค์กรที่สนใจพัฒนาองค์กรในมิติคุณธรรม

 

          ปัจจุบัน กระบวนการพัฒนามาตรฐานด้านคุณธรรมได้ดำเนินการมาถึงขั้นตอนการพัฒนา (ร่าง) มาตรฐานด้านคุณธรรมสำหรับองค์กร โดยเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2562 ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนความเห็น “(ร่าง) มาตรฐานด้านคุณธรรม สู่การขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม” ณ โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กรุงเทพฯ เพื่อนำเสนอผลการพัฒนา (ร่าง) มาตรฐานด้านคุณธรรม และเปิดเวที่ให้เครือข่ายทางสังคมร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ

 

          ภายในงาน รศ.นพ.สุริยเดวหรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) กล่าวถึงแนวทางพัฒนามาตรฐานด้านคุณธรรมว่าเป็นการสร้างและพัฒนามาตรฐานด้านคุณธรรม โดยไม่ได้เป็นการรับรองหน่วยงาน แต่เป็นการสร้างมาตรฐานของคุณธรรมด้านต่างๆและส่งเสริมให้เครือข่ายทางสังคมเป็นองค์กรส่งเสริมคุณธรรม โดยมาตรฐานด้านคุณธรรมเป็นเครื่องมือแนวทางหรือไกด์ไลน์ให้องค์กรต่างๆ นำไปพัฒนาปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กร และเป็นแนวทางที่เกิดจากการร่วมคิดร่วมตัดสินใจด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิกในองค์กร

 

          ทั้งนี้การพัฒนาคุณธรรมต้องพัฒนาควบคู่กับจริยธรรม ที่มีความเชื่อมโยงกับระบบต่างๆ โดยความสำคัญของการพัฒนาคุณธรรมอยู่ที่การปลูกฝังและผ่านกระบวนการคิดตัดสินใจที่เหมาะสม

 

          หลังจากนั้นกลุ่มงานพัฒนาองค์ความรู้นวัตกรรม ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) นำเสนอ (ร่าง) มาตรฐานด้านคุณธรรมสำหรับองค์กร ซึ่งนำประเด็นคุณธรรม 4 ประเด็น คือ พอเพียง วินัย สุจริต และจิตอาสา ที่คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติกำหนดเป็นประเด็นคุณธรรมที่ควรส่งเสริม เป็นจุดเริ่มตันสำหรับส่งเสริมในองค์กร (ร่าง) มาตรฐานด้านคุณธรรมสำหรับองค์กรประกอบไปด้วย 10 มิติ คือ พอเพียง 3 มิติ คือ 1) ความพอประมาณ 2) ความมีเหตุมีผลรอบรู้รอบคอบ 3) การมีภูมิคุ้มกัน  วินัย 3มิติ คือ 4) การปฏิบัติตามข้อตกลงกติกา แบบแผนที่กำหนดร่วมกันของสมาชิกในองค์กร/ชุมชน 5) การทำหน้าที่ของสมาชิกในองค์กร/ชุมชนโดยมุ่งความสำเร็จของงาน 6) ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สุจริต 2มิติ คือ 7) ความโปร่งใส 8) ธรรมาภิบาลขององค์กรและผู้นำ จิตอาสา 2 มิติคือ 9) การดูแลรักษาทรัพยากรส่วนรวม และ 10) มุ่งสร้างประโยชน์ให้กับสังคม  [ผู้ที่สนใจ (ร่าง) มาตรฐานค้นคุณธรรมสามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://qrgo.page.link/4wmJ4 คลังข้อมูลดิจิทัลด้านคุณธรรมความดี ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)] โดยแผนการดำเนินงานต่อไปของงานพัฒนามาตรฐานด้านคุณธรรม คือการพัฒนาเครื่องมือและกระบวนการเพื่อขับเคลื่อนร่วมกับองค์กรนำร่อง ติดตามการเปลี่ยนแปลงและถอดองค์ความรู้จากการดำเนินงาน

 

          หลังจากการนำเสนอเป็นการเปิดเวที่ให้องค์กรต่างๆ ที่เข้าร่วมเวที ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมร่วมแลกเปลี่ยนและให้ข้อคิดเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานด้านคุณธรรม และแนวทางการพัฒนางานมาตรฐานด้านคุณธรรม ซึ่งประเด็นสำคัญจากการแลกเปลี่ยนมีดังต่อไปนี้ 1.ควรมีกระบวนการพัฒนาเครื่องมือที่สนับสนุนให้องค์กรพัฒนามาตรฐานด้านคุณธรรมตามบริบทของตนเอง และนำเครื่องมือที่พัฒนาไปส่งเสริม รวมทั้งขับเคลื่อนเชิงพื้นที่ 2.ผลลัพธ์ของตัวชี้วัดคุณธรรมด้านต่างๆได้แก่ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา ควรวัดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทขององค์กร 3.การพัฒนาเครื่องมือวัดผลความเปลี่ยนแปลง ควรมีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการพิจารณาควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมของสมาชิกในองค์กร 4.ควรมีการถอดบทเรียนองค์กรที่พัฒนามาตรฐานด้านคุณธรรม เพื่อแบ่งปันและสร้างกระบวนการเรียนรู้แก่องค์กรอื่นต่อไป

 

          จากข้อเสนอแนะข้างต้นต่างเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า (ร่าง) มาตรฐานด้านคุณธรรมที่ดำเนินการพัฒนาต้อง "ใช้ได้จริง" โดยต้องมีการพัฒนาเครื่องมือและกระบวนการที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์กรควบคู่กันไป รวมทั้งคำนึงถึงบริบทที่หลากหลาย บทบาทของงานมาตรฐานด้านคุณธรรมจึงเป็นเครื่องมือเสริมพลังองค์กรที่ทำให้การบริหารองค์กรมีเรื่องคุณธรรมเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตสมาชิกในองค์กรและวัฒนธรรมองค์กร

 

ธัญลักษณ์ ศรีสง่า

www.thaissf.org, twitter.com/jitwiwat

สนับสนุนโดย มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์

ค้นหาหนังสือ

แนะนำหนังสือ

การส่งเสริมคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา

แนวทางการส่งเสริมองค์กรคุณธรรม

Think hack That's Great! แฮกไอเดีย แก้ปัญหาตรงใจ

สรุปเวทีรายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566 หัวข้อ “Morality in Brittle Society คุณธรรมในโลกทีเปราะบาง”

รายงานฉบับสมบูรณ์ การดำเนินงานจัดทำรายงานสถานการณ์คุณธรรมสังคมไทย ปี 2566

Infographic รายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2566

องค์ความรู้ มององค์กรผ่าน BOMC เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรคุณธรรม

สตาร์ทอัพ กับการออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม

องค์ความรู้ รูปแบบพฤติกรรมและกิจกรรมการทําเพื่อสังคมในบริบทของสังคมไทย

องค์ความรู้ Dialogue และ Empathy Dialogue = กระบวนการชวนคุยเพื่อทําความเข้าใจองค์กร

สื่อสารอย่างเข้าใจ ทำอะไรก็สำเร็จ : องค์ความรู้ การสื่อสารด้วยความเข้าใจ ระหว่างคนต่างรุ่นในองค์กร

ผลสำรวจสถานการณ์คุณธรรมปี 2565-2566 ด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิตของคนไทย 3 ช่วงวัย

คุณธรรมกับโลกยุคโกลาหล : รายงานสถานการณ์คุณธรรมปี 2565 = Moral with the age of chaos

รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรม

รายงานการวิจัยเรื่อง การสำรวจสถานการณ์ทุนชีวิตคนไทย (Life Assets) ปี 2565

สรุปงานแถลงข่าวสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย ปี 2565 และเสวนาวิชาการ “อยู่อย่างไรให้รอด ในโลกที่เปราะบางและท้าทาย”

แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)

สรุปสาระสำคัญแผนปฏิบัติการฯคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570)

แท้จริงแล้วการพึ่งพากันทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น

คุณธรรมที่คุณสัมผัสได้ = Moral Development with Honey Bee Model