การศึกษาสถานการณ์คุณธรรมจริยธรรมของช่วงวัยแรงงานไทย พัฒนาศักยภาพมนุษย์ตามช่วงวัยในมิติคุณธรรม (วัยแรงงาน)

การศึกษาสถานการณ์คุณธรรมจริยธรรมของช่วงวัยแรงงานไทย พัฒนาศักยภาพมนุษย์ตามช่วงวัยในมิติคุณธรรม (วัยแรงงาน)

ผู้เขียนหนังสือ:
ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
รหัสหนังสือ:
419
ISBN:
non

การศึกษาสถานการณ์คุณธรรมจริยธรรมของช่วงวัยแรงงานไทย
รายงานฉบับสมบูรณ์

 

กรอบความคิดทางคุณธรรมจริยธรรมของผู้คนในสังคมย่อมส่งผลต่อการกำหนดนโยบายและความเห็นสาธารณะ การศึกษาประเด็นคุณธรรมจริยธรรมในสังคมและความรับรู้ความเข้าใจของผู้คนต่อประเด็นดังกล่าวเป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจร่วมกัน เพื่อมองเห็นภาพรวมสถานการณ์ปัญหา และเตรียมความพร้อมเชิงนโยบายเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาในอนาคตได้

งานศึกษาสถานการณ์คุณธรรมจริยธรรมของช่วงวัยแรงงานไทยมีวัตถุประสงค์ (หนึ่ง) ศึกษาสถานการณ์คุณธรรมจริยธรรมแรงงานเชิงนโยบาย เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบ และทุนทางสังคมในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนระบุสภาพปัญหาและแนวโน้มสถานการณ์ที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข และ (สอง) สังเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณธรรมจริยธรรมแรงานไทยและโลก

งานศึกษานี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ ระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วยการศึกษาแนวคิดคุณธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน การวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณค่าดังกล่าวภายใต้นโยบายเกี่ยวกับแรงงานระหว่างไทย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเยอรมนี การเก็บข้อมูลสำรวจผ่านแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด ครอบคลุมแรงงานทั้งในและนอกระบบ ทุกภาคการผลิต และการสนทนากลุ่มระหว่างผู้เกี่ยวข้องเชิงนโยบาย ข้อค้นพบจากการทบทวนวรรณกรรมว่าด้วยจริยธรรมแรงงานก็คือ งานมีมิติทางสังคมและจริยธรรมที่หลากหลาย มิได้เป็นแต่เพียงกิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว คนทำงานจึงเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรี มิได้เป็นแต่เพียงแรงงานในฐานะปัจจัยการผลิตราคาถูก สังคมที่ประสบความสำเร็จและมีคุณธรรม ก็คือมีการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง การพัฒนาที่ยั่งยืนจึงต้องคำนึงถึงแรงงานในฐานะทุนมนุษย์ที่สำคัญ และภายใต้แนวคิดจริยศาสตร์บรรทัดฐาน กรอบจริยธรรมว่าด้วยแรงงาน ประกอบด้วย 5 หลัก ได้แก่ ประสิทธิภาพ ความเท่าเทียม การมีปากเสียง ความอาทร และการมีชีวิตที่ดี ซึ่งสะท้อนปรากฏผ่านการก่อตั้ง "องค์การแรงงานระหว่างประเทศ และมาตรฐานแรงงานสากล"

ชลนภา อนุกูล และศยามล เจริญรัตน์

 

ค้นหาหนังสือ