รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรม

รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรม

MBQ66013

 Collection : องค์ความรู้ของศูนย์คุณธรรม

ประเภททรัพยากร : รายงานการวิจัย

ที่ปรึกษาโครงการ : รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุริยเดว ทรีปาตี, ดร.สุวพร เซ็มเฮง

หัวหน้าโครงการ : รองศาสตราจารย์ ดร.วิไลลักษณ์ ลังกา

เจ้าของผู้ผลิต : ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)

สำนักพิมพ์ : กรุงเทพฯ : ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)

พิมพ์ครั้งที่ : 1

เดือนปีที่ผลิต : 2565

รูปแบบ  ▪ E-book (pdf)

จำนวนหน้า : 393 หน้า

คำสำคัญ : สถานการณ์คุณธรรม, ตัวชี้วัดคุณธรรม
ระดับการใช้ประโยชน์ : ระดับนโยบาย องค์ความรู้ด้านสำรวจสถานการณ์คุณธรรม

กลุ่มเป้าหมาย : หน่วยงานองค์กร

ผู้เขียนหนังสือ:
รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี
รหัสหนังสือ:
MB66013

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงคค์การวิจัย คือ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมของกลุ่มคนไทยอายุ 13-24 ปี และ

41 ปีขึ้นไป 2) เพื่อสร้างและพัฒนาเครื่องมือสำหรับประเมินคุณธรรม 3) เพื่อหาคุณภาพและเกณฑ์ปกติ (norm)

ของเครื่องมือฯ 4) เพื่อสำรวจสถานการณ์คุณธรรมของกลุ่มคนไทย 3 ช่วงอายุ และ 5) เพื่อสร้างข้อเสนอแนว

ทางการส่งเสริมคุณธรรม ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนไทยช่วงอายุ 13-24 ปี, 25-40 ปี และ 41 ปีขึ้นไป ทั้ง 6 ภูมิภาค

รวมจำนวน 15,720 คน

แต่ละวัตถุประสงค์มีวิธีดำเนินการวิจัยและข้อค้นพบสำคัญดังนี้

วัตถุประสงค์ข้อแรก ออกแบบด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลกับกลุ่มคนไทย 2 ช่วงอายุ

13-24 ปี เป็นกลุ่มนักเรียนนักศึกษา และช่วงอายุ 41ปีขึ้นไป จาก 6 กลุ่มอาชีพ 6 ภูมิภาค และ ผลพบว่า

คุณธรรม เป็นการแสดงถึงคุณลักษณะในตัวบุคคล มีดัชนีชี้วัดคุณธรรม 5 ด้าน ประกอบด้วย พอเพียง

วินัยรับผิดชอบ กตัญญู สุจริต และจิตสาธารณะ วัตถุประสงค์ข้อสองและข้อสาม ออกแบบด้วยวิธีเชิงปริมาณ

ในส่วนของการหาคุณภาพเครื่องมือด้านความเที่ยงตรงของแบบวัดคุณธรรมฯ จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 11 คน

พบว่า ข้อคำถามวัดคุณธรรมฉบับอายุ 13-24 ปีมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.64 - 1.00 มีค่าอำนาจจำแนก 0.30

ถึง 0.82 มีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.86 ถึง 0.94 และโมเดลการวัดคุณธรรมสำหรับกลุ่มคนไทยช่วงอายุ 13-24 ปี

มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ส่วนข้อคำถามวัดคุณธรรมฉบับอายุ 41 ปีขึ้นไป ค่า IOC

อยู่ระหว่าง 0.73 - 1.00 มีค่าอำนาจจำแนก 0.23 ถึง 0.87 มีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.79 ถึง 0.94 และโมเดล

การวัดคุณธรรมสำหรับกลุ่มคนไทยช่วงอายุ 41 ปีขึ้นไป มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์

สำหรับผลการหาเกณฑ์ปกติ (norm) ของเครื่องมือประเมินคุณธรรมของกลุ่มคนไทยช่วงอายุ 13-24 ปี จำนวน 3,000 คน

มีคุณธรรม 5 ด้าน อยู่ในระดับพอใช้ เมื่อพิจารณาคุณธรรมแต่ละด้าน พบว่าอยู่ในระดับพอใช้ถึงระดับมาก โดย

คุณธรรมด้าน “กตัญญู อยู่ในระดับมาก ส่วนผลการหาเกณฑ์ปกติ (norm) ของเครื่องมือประเมินคุณธรรม

ของกลุ่มคนไทยช่วงอายุ 41ปีขึ้นไป จำนวน 3,000 คน มีคุณธรรม 5 ด้าน อยู่ในระดับพอใช้ เมื่อพิจารณา

คุณธรรมแต่ละด้าน พบว่าอยู่ในระดับน้อยถึงระดับพอใช้ โดยคุณธรรมด้าน “พอเพียง” อยู่ในระดับน้อย

วัตถุประสงค์ข้อสี่ออกแบบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อสำรวจสถานการณ์คุณธรรมของกลุ่มคนไทย3 ช่วงอายุ

6 กลุ่มอาชีพ และ 6 ภูมิภาค ได้มาด้วยการเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มคนไทย

อายุ 13-24 ปีมีคุณธรรม 5 ด้านอยู่ในระดับพอใช้ เมื่อพิจารณาคุณธรรมแต่ละด้าน พบว่า อยู่ในระดับพอใช้

ถึงระดับมาก โดยคุณธรรมด้าน “กตัญญู อยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบคุณธรรม 5 ด้าน กับเกณฑ์ปกติ

พบว่า ดัชนีชี้วัดคุณธรรมทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ กลุ่มคนไทยอายุ 25-40 ปีมีคุณธรรม 5 ด้าน

อยู่ในระดับพอใช้ เมื่อพิจารณาคุณธรรมแต่ละด้าน พบว่าอยู่ในระดับพอใช้ถึงระดับมาก โดยคุณธรรมด้าน

“กตัญญู อยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบคุณธรรม 5 ด้าน กับเกณฑ์ปกติพบว่า ดัชนีชี้วัดคุณธรรมทุก

ด้าน มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ กลุ่มคนไทยอายุ 41 ปีขึ้นไป มีคุณธรรม 5 ด้าน อยู่ในระดับพอใช้เมื่อพิจารณา

คุณธรรมแต่ละด้าน พบว่าอยู่ในระดับน้อยถึงระดับมาก โดยคุณธรรมด้าน “พอเพียง” อยู่ในระดับน้อย

ผลการเปรียบเทียบคุณธรรม 5 ด้าน กับเกณฑ์ปกติ พบว่า ดัชนีชี้วัดคุณธรรมทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ปกติ

จากผลการวิจัยทำให้ได้ข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมคุณธรรมของกลุ่มคนไทย 3 ช่วงอายุ ที่ครอบคลุม

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในระดับนโยบาย ระดับพื้นที่ ระดับชุมชน และระดับครอบครัว รวมทั้งได้แนวปฏิบัติที่ดี

เพื่อส่งเสริมคุณธรรม

 

ค้นหาหนังสือ